ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว จำเป็นต้องทำประกันโรคร้ายแรงเพิ่มหรือไม่

มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว จำเป็นต้องทำประกันโรคร้ายแรงเพิ่มหรือไม่

          มีประกันสุขภาพไว้มีชัยไปกว่าครึ่ง เรื่องนี้ก็จริงอยู่ เพราะท่ามกลางกระแสสุขภาพที่กำลังมาแรง ไหนจะโรคอุบัติใหม่ที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำประกันสุขภาพติดตัวไว้ช่วยให้อุ่นใจได้ขึ้นเยอะ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ใช่ว่าประกันสุขภาพที่มีอยู่ จะคุ้มครองเราได้แบบครบครัน โดยเฉพาะกับ “โรคร้ายแรง” ที่ประกันทั่วไปมักไม่ค่อยคุ้มครอง บางคนก็เลยหันไปซื้อประกันโรคร้ายแรงเพิ่มเติมไว้ ว่าแต่ว่ามันจำเป็นจริง ๆ หรือเปล่า เราควรจะซื้อเอาไว้หรือไม่ วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน

เลือกซื้อประกันโรคร้ายแรงอย่างไรดี หากมีประกันสุขภาพอยู่แล้ว

          ประกันสุขภาพนับว่าเป็นตัวช่วยที่จะเข้ามาแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยได้ดีมาก ๆ โดยเฉพาะอาการเจ็บป่วยทั่วไปที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ประกันสุขภาพมักจะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ค่าห้องพัก หรือค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ อีกทั้งค่ารักษาพยาบาลยังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี การมีประกันสุขภาพเอาไว้จึงช่วยให้อุ่นใจขึ้นได้เยอะ

          แต่ถึงอย่างนั้น การคุ้มครองการเจ็บป่วยที่ว่า ก็คุ้มครองเพียงแค่การเจ็บป่วยทั่วไปเท่านั้น ขณะที่บางโรคต้องใช้เทคนิคการแพทย์แบบเฉพาะทาง และใช้เวลารักษานาน หรือที่เรียกว่า “โรคร้ายแรง” เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคระบบประสาท ประกันทั่วไปมักจะไม่ครอบคลุม ดังนั้นหากต้องการได้รับความคุ้มครองก็ควรทำประกันโรคร้ายแรงเอาไว้ด้วย

การจะเลือกซื้อประกันโรคร้ายแรงสักแผน มีข้อควรรู้ที่ควรคำนึงถึงดังนี้

1. ความคุ้มครองโรคร้ายแรงที่ครอบคลุมเพิ่มเติมจากประกันสุขภาพเดิม
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการมีประกันสุขภาพทั่วไปก็เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่ครอบคลุมโรคร้ายแรงเท่านั้น หากอยากซื้อประกันโรคร้ายแรงเพิ่ม ก็ควรหาแผนที่คอยเสริมประกันสุขภาพเดิมจะคุ้มค่าที่สุด ประกันโรคร้ายแรงในปัจจุบันมีหลากหลายแผนให้เลือกแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท มีทั้งแผนที่คุ้มครอง 40 โรค, 50 โรค หรือ 100 โรคก็มี ทีนี้เราก็ต้องมาชั่งน้ำหนักว่า ความคุ้มครองไหนที่เหมาะกับเราที่สุด เพราะแต่ละคนมีปัจจัยทางสุขภาพที่แตกต่างกัน

2. คุ้มครองทุกระยะของโรคร้ายแรง
นอกจากแผนประกันควรคุ้มครองให้ได้หลาย ๆ โรคแล้ว ยังต้องคุ้มครองได้ทุกระยะ ซึ่งระยะของโรคร้ายแรงจะแบ่งได้เป็น 

  • ระยะเริ่มต้น (Early Stage) เช่น โรคมะเร็งระยะยังไม่ลุกลาม โรคกล้ามเนื้อหัวใจระยะเบื้องต้น โรคพาร์กินสันระยะแรก เป็นต้น
  • ระยะรุนแรง (Last Stage) เช่น โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น

3. ศึกษาโรคหรือเงื่อนไขที่ไม่คุ้มครอง
แผนประกันโรคร้ายแรงโดยทั่วไปแล้ว มักกำหนดโรคหรือข้อยกเว้นที่ไม่สามารถรับความคุ้มครองได้คล้าย ๆ กัน เช่น โรคที่เกิดจากการฆ่าตัวตาย โรคที่เกิดจากการใช้สารเสพติดหรือสุรา โรคที่เกิดจากการก่ออาชญากรรมหรือการถูกคุมขัง โรคที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มแผนประกัน ทั้งนี้บางแผนอาจกำหนดโรคไม่คุ้มครองเพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้ เช่น การติดเชื้อ HIV หรือ มะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

4. แผนประกันที่มีวงเงินครอบคลุมเหมาะสม
ค่ารักษาพยาบาลของโรคร้ายแรงส่วนใหญ่โดยรวมแล้วอาจสูงไปถึงหลักล้านบาทเลยทีเดียว ดังนั้นผู้เอาประกันควรเปรียบเทียบแผนประกันของแต่ละบริษัทให้ดีว่ามีวงประกันอยู่ที่เท่าไหร่ โดยวงเงินที่เหมาะสมซึ่งจะคุ้มครองโรคร้ายได้หลายโรคควรอยู่ที่ประมาณ 1-3 ล้านบาทเป็นต้นไป หากคุ้มครองโรคได้น้อยลง เบี้ยประกันควรจะต้องถูกลงด้วย

5. เบี้ยประกันสมเหตุสมผลกับรายได้
การจะทำประกันไม่ว่าจะแบบธรรมดาหรือโรคร้ายแรง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยก็คือเบี้ยประกันซึ่งควรคำนึงตามรายได้ของเราเป็นหลักให้สามารถจ่ายเพื่อรับความคุ้มครองได้อย่างต่อเนื่อง
 

6. การลดหย่อนภาษี
ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการทำประกันสุขภาพคือเราสามารถนำไปยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้บางแผนประกันอาจไม่มี ดังนั้นก่อนซื้อควรจะอ่านรายละเอียดให้ดี ๆ ว่ามีเงื่อนไขเรื่องลดหย่อนภาษีระบุไว้หรือไม่


ข้อดีของการทำประกันโรคร้ายแรง

  • หมดห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาลแพง ๆ
    หากเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมาทำใจเตรียมไว้ได้เลยว่าค่ารักษาพยาบาลจะต้องแพงมากแน่นอน ซึ่งปกติจะแพงเป็นหลักล้าน แต่หากทำประกันโรคร้ายแรงเอาไว้ก็สบายใจเรื่องนี้ไปได้เปราะใหญ่เลยทีเดียว

     
  • ยิ่งทำตอนอายุยังน้อย เบี้ยยิ่งถูก
    การทำประกันโรคร้ายแรงเอาไว้แต่เนิ่น ๆ ขณะที่อายุยังน้อยและยังแข็งแรงดี ช่วยให้เราจ่ายเบี้ยประกันที่ถูกกว่าตอนมีโรครุมเร้าแล้ว นอกจากนั้นบางแผนอาจปรับเบี้ยขึ้นตามอายุอีกด้วย

     
  • เป็นการวางแผนการเงิน
    การทำประกันภัยเป็นเหมือนการเก็บออมเพื่อสุขภาพในอนาคต ยิ่งสำหรับโรคร้ายแรงที่มีค่ารักษาพยาบาลสูง ยิ่งควรต้องทำไว้เพื่อให้มีเงินสำหรับจ่ายในส่วนนี้ได้แบบเพียงพอไร้กังวล และอย่างที่กล่าวไปว่าประกันประเภทนี้ยังใช้ไปลดหย่อนภาษีได้ ทำให้เรามีเงินเหลือสำหรับไปใช้จ่ายสิ่งจำเป็นอื่น ๆ

ข้อจำกัดของการทำประกันโรคร้ายแรง

  • ควรมีประกันสุขภาพหรือสวัสดิการสุขภาพอยู่แล้ว
    เพราะประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ และมีค่ารักษาพยาบาลแพง ดังนั้นจึงยังไม่ตอบโจทย์ที่จะเป็นประกันแผนหลัก หากอยากให้ครอบคลุมทุกโรคมากที่สุดก็ควรทำประกันสุขภาพทั่วไปร่วมด้วย หรือบางบริษัทอาจมีเงื่อนไขว่า ต้องซื้อประกันสุขภาพของบริษัทก่อน ถึงจะซื้อประกันโรคร้ายแรงเป็นประกันเสริมได้

     
  • ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period)
    Waiting period เป็นเวลาที่กำหนดว่าแผนประกันนั้น ๆ จะยังไม่สามารถจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลได้ หากยังไม่พ้นระยะเวลาที่กำหนด เช่น บางแผนอาจกำหนดไว้ที่ 90 วัน หมายความว่า ภายในเวลา 90 วันหลังจากแผนประกันนี้อนุมัติ เราจะยังไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ จะต้องรอให้พ้นจาก 90 วันนี้ไปก่อน ขณะเดียวกันบางบริษัทอาจกำหนดระยะเวลาที่ไม่คุ้มครองเอาไว้นานกว่านั้น เช่น 120 วัน ดังนั้นควรศึกษาให้ดีก่อนซื้อ

     
  • เบี้ยประกันค่อนข้างสูง มีโอกาสต้องจ่ายแบบทิ้งเปล่า
    แม้การทำไว้ตั้งแต่อายุยังน้อย เบี้ยจะถูกกว่าก็จริง แต่บางแผนจะมีการปรับขึ้นตามอายุ และหากไม่มีอาการป่วย ไม่ได้เคลมประกัน เบี้ยที่จ่ายไปนั้นอาจจะต้องเสียเปล่า แต่ก็มีแผนประกันแบบเบี้ยคงที่เช่นกัน แบบนี้สามารถรับเบี้ยคืนได้เมื่อครบสัญญา ซึ่งแบบนี้ค่าเบี้ยมักจะแพงกว่า

แนะนำอ่าน : โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง ? และกรณีไหนที่ประกันโรคร้ายแรงไม่คุ้มครอง


ไม่เก็ตประกันถามดร.เก็ต ซื้อประกันโรคร้ายแรงที่ไหนดี ?

          gettgo ช่วยให้การซื้อประกันเป็นเรื่องง่าย สะดวกสบาย คุณสามารถค้นหา เปรียบเทียบ และเลือกแบบประกันที่คุ้มค่าและเหมาะสมที่สุดได้ด้วยตัวคุณเอง และนี่คือสิ่งที่คุณควรพิจารณาก่อนเลือก ซื้อประกันโรคร้ายแรง

  1. เลือกบริษัทประกันที่น่าเชื่อถือ
    อาจเลือกจากบริษัทประกันที่เคยมีอยู่แล้ว เพราะสามารถซื้อเป็นแผนเสริมจากประกันสุขภาพทั่วไปได้เลย หรือหากยังไม่มีแนะนำให้ลองเลือกดูหลาย ๆ ที่จากบริษัทที่ไว้ใจได้ และดูน่าจะคุ้มค่ามากที่สุด
  2. เลือกแผนประกันที่เหมาะกับตัวเรา
    เมื่อเลือกบริษัทได้แล้ว ต่อมาก็ต้องมาดูแผนประกันภัย แต่ละแห่งจะมีหลากหลายแผนที่ให้ความคุ้มครองแตกต่างกันไป เช่น ความคุ้มครองโรคยอดฮิต ความคุ้มครองโรคร้ายแรงทุกโรค คุ้มครองทุกระยะหรือบางระยะของโรคร้ายแรง หรือบางแห่งอาจมีให้เลือกด้วยว่าเป็นแผนโรคร้ายสำหรับคุณผู้หญิง หรือสำหรับคุณผู้ชายโดยเฉพาะ
  3. การตรวจสุขภาพ
    ส่วนมากแล้วประกันโรคร้ายแรงมักจะไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อน ทั้งนี้อาจมีให้ตอบแบบคำถามทางสุขภาพซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท
  4. เลือกจ่ายเบี้ยประกันตามความสะดวก
    ทุกวันนี้เราสามารถเลือกจ่ายเบี้ยประกันด้วยวิธีที่หลากหลาย ทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิต ผ่อนรายเดือน ทำให้ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าถึงประกันสุขภาพดี ๆ ได้

          ประกันสุขภาพที่มีอยู่อาจครอบคลุมโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ แต่หากลองนึกถึงโรคร้ายที่อาจมาเยือนเมื่อไหร่ก็ได้ดูแล้ว ประกันสุขภาพแบบธรรมดาคงไม่สามารถตอบโจทย์ได้อีกต่อไป ดังนั้นมันคงจะดีกว่าหากเราเตรียมตัวรับมือเอาไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้มีค่ารักษาพยาบาลได้แบบทันท่วงทีและไม่ต้องกังวล การทำประกันโรคร้ายแรงก็เหมือนกับการเก็บเงินเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินในอนาคต แม้ว่าจะต้องแลกมากับการจ่ายเบี้ยแพงสักหน่อย แต่เมื่อคิดถึงค่ารักษาพยาบาลหลักล้านที่จะได้รับการคุ้มครองแล้ว นับว่าคุ้มค่าที่จะลงทุนให้กับตัวเองไม่น้อย

บทความที่คุณอาจสนใจ

บอกไม่หมดจนโป๊ะแตก ประกันสืบประวัติย้อนหลังได้
เบลล่าบอก "ห่วงแค่ไหน ก็พอจ่าย" แล้ว Elite Health แผน จ่ายแล้วได้อะไรบ้าง ?
ปอกเปลือกประกันโควิด เจอจ่าย VS ค่ารักษา เคลมอย่างไรให้ได้เงิน ?
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊