ประกันโรคร้ายแรง คืออะไร ?
ประกันโรคร้ายแรง เป็นหนึ่งในรูปแบบประกันสุขภาพที่มุ่งคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคร้ายตามที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ จะแตกต่างจากประกันสุขภาพปกติตรงที่นอกจากจะคุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรงแล้ว ก็มักจะจ่ายเป็นจำนวนเงินเอาประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาเมื่อผู้เอาประกันตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายจริง โดยมักเรียกความคุ้มครองของประกันรูปแบบนี้ว่าเป็นความคุ้มครองแบบ “เจอแล้วจ่าย” ไม่ได้อิงกับค่ารักษาพยาบาลตามจริง
นอกจากนี้ ประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองมุ่งเป้าไปที่โรคร้ายแรงเฉพาะจุด ยังมีวงเงินความคุ้มครองสูงขณะที่สามารถจ่ายเบี้ยประกันต่ำได้เมื่อเทียบกับการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพทั่วไป
โดยประเภทของประกันชีวิตโรคร้ายที่มักพบได้บ่อย สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ นั่นก็คือ:
ประกันโรคร้ายแรง เหมาะกับใคร ?
ประกันชีวิตโรคร้ายแรง เหมาะกับใครก็ตามที่มีเงินเก็บเพียงพอจะรักษาตัวจากการเจ็บป่วยโดยทั่วไปแล้ว หรือมีประกันกลุ่มหรือสวัสดิการจากที่ทำงานที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลการเจ็บป่วยทั่วไป แต่วงเงินอาจจะยังสูงไม่พอจ่ายหากเกิดเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมา คุณก็สามารถเพิ่มความมั่นคงทางสุขภาพและการเงินของตัวเองได้ด้วยการทำประกันชีวิตโรคร้ายแรง เพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่อาจต้องใช้เงินมากถึงหลักล้านครับ
การทำประกันโรคร้ายแรง ต้องตรวจสุขภาพด้วยหรือไม่ ?
ข้อกำหนดในการตรวจสุขภาพมักขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละแผนประกันนะครับ ทั้งนี้ทั้งนั้น หากต้องมีการตรวจสุขภาพ ก็เพื่อเป็นการยืนยันทางการแพทย์ว่าคุณมีสุขภาพสมบูรณ์ตามเกณฑ์กำหนด และตามที่ได้แถลงไปในใบสมัครประกัน รวมถึงเพื่อตรวจสอบว่าคุณไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงที่มีสภาพที่เป็นอยู่ก่อนหน้า ซึ่งประกันชีวิตโรคร้ายแรงก็จะไม่คุ้มครองสภาพตรงนี้ครับ
แต่ในปัจจุบันก็มีประกันชีวิตโรคร้ายแรงหลากหลายตัวที่คุณสามารถซื้อกรมธรรม์ได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่จะต้องแถลงยืนยันว่าคุณมีสุขภาพสมบูรณ์และมีอายุอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามจริงครับ
ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) คืออะไร ?
ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) คือ ระยะเวลาที่ผู้ซื้อประกันซื้อประกันแล้วแต่ยังเคลมประกันไม่ได้ โดยเริ่มระยะรอคอยตั้งแต่วันที่บริษัทคุ้มครอง หรือวันที่อนุมัติกรมธรรม์/กรมธรรม์มีผลบังคับ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ป่วยก่อนทำประกันมาเบิกเคลมซึ่งจะขัดกับข้อกำหนดของกรมธรรม์ โดยประกันโรคร้ายแรงมีระยะเวลารอคอยอยู่ที่ 30-120 วันครับ
หากเคยเป็นโรคร้ายแรงแต่รักษาหายแล้ว จะซื้อประกันได้หรือไม่ ?
โดยทั่วไปแล้วก็จะมีความเสี่ยงที่การรับประกันครั้งนี้จะไม่ครอบคลุมโรคที่เราเป็นมาก่อนนะครับ เพราะตามเงื่อนไขของประกัน โรคร้ายแรงทั่วไปมักจะไม่คุ้มครองสภาพที่เป็นมาก่อนการทำประกัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าหากคุณสนใจจะทำประกันโรคร้ายแรงจริงๆแม้จะเคยเป็นโรคร้ายแรงมากก่อน ก็สามารถสอบถามไปทางบริษัทประกันโดยตรง เพื่อให้ได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษในการอนุมัติซื้อประกันก็ได้ครับ
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ถ้าคุณคิดจะทำประกันชีวิตโรคร้ายและเคยเป็นโรคร้ายแรงมาก่อน เวลาที่จะแถลงข้อมูลสุขภาพก็ขอให้แถลงตามจริง เพราะการแถลงข้อมูลเท็จเพื่อสมัครประกัน ถ้าหากบริษัทประกันตรวจสอบประวัติสุขภาพและมาค้นพบในภายหลัง ก็อาจทำให้บริษัทประกันยกเลิกกรมธรรม์ได้ครับ
ค่าเบี้ยประกันโรคร้ายแรง จะปรับตามอายุหรือไม่ ?
จากข้อกำหนดของทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ได้กำหนดว่าในสัญญาประกันโรคร้ายแรงถ้าหากเป็นสัญญาระยะสั้นเพียง 1 ปี บริษัทสามารถปรับเบี้ยประกันภัยในปีต่ออายุให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ แต่ถ้าหากเป็นสัญญาระยะยาวก็จะมีอัตราเบี้ยประกันภัยที่คงที่และบริษัทไม่สามารถปรับเบี้ยได้ครับ
ประกันโรคร้ายแรง สามารถเบิกเคลมซ้ำกับประกันสุขภาพที่มีอยู่แล้วได้หรือไม่ ?
สามารถทำได้ครับ โดยถ้าหากคุณมีสวัสดิการที่ทำงานหรือประกันสุขภาพตัวอื่น ๆ ที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลอยู่แล้ว หากเกิดเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมาก็สามารถเบิกเคลมได้กับทั้งประกัน/สวัสดิการตัวนั้น ๆ พร้อมกับเบิกเคลมจากประกันชีวิตโรคร้ายแรงแยกออกมาต่างหากได้อีกด้วยครับ
หากตรวจพบโรคร้าย ต้องทำอย่างไรถึงจะเคลมประกันได้ ?
เมื่อตรวจพบโรคร้าย ให้คุณขอเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัย ทั้งผลการตรวจ เนื้อเยื่อเลือดหรือไขกระดูกโดยแพทย์ที่ระบุว่าคุณเป็นโรคร้ายในระยะที่ตรงกับเงื่อนไขในกรมธรรม์จริง ๆ แล้วส่งเอกสารทั้งหมดนี้พร้อมกับแบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมชดเชยโรคร้ายแรงไปที่บริษัทประกันเพื่อดำเนินการตรวจสอบครับ
ประกันโรคร้ายแรง เลือกยังไงให้ได้ประกันดีที่สุดสำหรับคุณ ?
เรามีเคล็ดลับในการเลือกประกันชีวิตโรคร้ายแรงให้เหมาะกับตัวคุณมากที่สุด โดยดูจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ครับ
บจก. เมืองไทย โบรกเกอร์ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาการให้บริการเว็บไซต์แก่คุณ หากคุณดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง เราถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา