ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง ? และกรณีไหนที่ประกันโรคร้ายแรงไม่คุ้มครอง

โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง ? และกรณีไหนที่ประกันโรคร้ายแรงไม่คุ้มครอง

          ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ช่วยกระตุ้นกระแสด้านการดูแลสุขภาพเป็นอย่างมาก และหนึ่งในสิ่งที่คนให้ความสนใจกันมาก นั่นก็คือเรื่องของการซื้อประกันภัย เพราะมีไว้ก็อุ่นใจกว่า หากเกิดป่วยไม่สบายขึ้นมาก็มีบริษัทประกันภัยที่จะคอยคุ้มครองค่าใช้จ่ายให้เรา แต่ท่ามกลางแผนประกันภัยที่มีอยู่หลายรูปแบบให้เลือกซื้อ เราควรศึกษาให้ดีก่อนว่าแบบไหนเหมาะกับเรากันแน่ ไม่ใช่ว่าเลือกซื้อแบบไหนก็ได้ พอป่วยขึ้นมาแผนประกันกลับไม่ครอบคลุมโรคที่เราเป็นอยู่แบบนี้ก็ไม่คุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคร้ายแรง ที่หากโชคร้ายเป็นขึ้นมาจริง ๆ ประกันทั่วไปอาจจะไม่คุ้มครอง หรือ ไม่ครอบคลุมค่ารักษาทั้งหมดก็เป็นได้

ประกันโรคร้ายแรงคืออะไร ?

          โรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่เราป้องกันไม่ให้เกิดแต่เนิ่น ๆ ได้ แต่ก็ควบคุมได้ยาก แม้เราจะดูแลสุขภาพได้ดีแค่ไหน ก็ไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่า อาการป่วยจะไม่ถามหาแบบ 100% โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หรือโรคสมองเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่เกิดได้จากสภาพแวดล้อมหรือแนวทางการใช้ชีวิตของเราเอง และแน่นอนว่ายิ่งรักษายากเท่าไร การถามหาการคุ้มครองจากประกันทั่วไปก็ยิ่งแทบไม่มี ดังนั้น บริษัทประกันแต่ละแห่งจึงได้ออกแผน “ประกันโรคร้ายแรง” ขึ้นมาสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมโรคเหล่านี้

          โรคร้ายแรงก็คือโรคที่รักษาให้หายได้ยากกว่าโรคทั่วไป ต้องใช้เทคโนโลยีหรือเทคนิคทางการแพทย์แบบเฉพาะทางในการรักษาซึ่งตามมาด้วยค่ารักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูง และประกันโรคร้ายแรงก็คือประกันที่เราสามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลจากโรคเหล่านี้ได้โดยเฉพาะนั่นเอง

โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง ?

          มาถึงตรงนี้ คำถามก็คือ โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง ? ข้อนี้เราสามารถยึดตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ให้คำนิยามโรคร้ายแรงเอาไว้ 50 โรค เช่น โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต (Aplastic Anemia) โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer) สำหรับประกันโรคร้ายแรงจะให้ความครอบคลุมทั้งโรคระยะเริ่มต้น (Early Stage) และระยะรุนแรง (Last Stage) โดยโรคร้ายแรงที่ประกันครอบคลุมมักแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 5 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้

1. กลุ่มโรคมะเร็ง
ครอบคลุมทั้งมะเร็งในระยะที่ยังไม่ลุกลาม และระยะลุกลาม เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ ฯลฯ

2. กลุ่มโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ
ครอบคลุมการผ่าตัดทั้งในระยะเริ่มต้นและระยะรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจแตก โรคกล้ามเนื้อหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น

3. กลุ่มโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง
อีกหนึ่งกลุ่มโรคที่เป็นกันเยอะ โดยประกันโรคร้ายแรงจะคุ้มครองครอบคลุมโรคเกี่ยวกับสมองต่าง ๆ เช่น เนื้องอกในสมองชนิดไม่ใช่มะเร็ง โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน เป็นต้น

4. กลุ่มโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ
เช่น โรคโปลิโอ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคอัมพาตครึ่งซีก โรคกล้ามเนื้อเสื่อม ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง รวมถึงการผ่าตัดกระดูกสันหลังคด เป็นต้น

5. กลุ่มโรคเกี่ยวกับอวัยวะสำคัญ
เช่น โรคหอบหืดรุนแรง โรคไตวายเรื้อรัง โรคถุงน้ำในไต โรคปอดระยะสุดท้าย การผ่าตัดตับ การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นต้น

          นอกจากนี้ในแผนประกันโรคร้ายแรงของบริษัทต่าง ๆ อาจมีระบุความคุ้มครองในโรคอื่น ๆ หรือโรคยอดฮิตซึ่งมีผลรุนแรงจนอาจกระทบถึงชีวิต เช่น การสูญเสียการได้ยิน การสูญเสียการมองเห็น โรคระยะสุดท้ายต่าง ๆ การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เป็นต้น ทั้งนี้รายละเอียดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทประกัน ดังนั้นผู้เอาประกันภัยควรศึกษาเปรียบเทียบแผนประกันที่เหมาะกับตนเองมากที่สุด

อ้างอิงจาก : ท้ายคำสั่งนายทะเบียน เรื่องคำนิยามโรคร้ายแรง 50 โรค

แนะนำอ่าน : มาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ หรือ New Health Standard จาก คปภ.


ทำไมถึงควรทำประกันโรคร้ายแรง

          วิถีชีวิตในชีวิตประจำวันที่เราต้องพบเจอ เช่น ความเครียด ปัจจัยภายนอกอย่างสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ปัญหามลพิษ หรือแม้แต่สิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างกรรมพันธุ์ติดตัว อาจทำให้โรคร้ายแรงเข้ามาถามหาเราโดยไม่ทันคิด และที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือโรคเหล่านี้มักรักษาหายได้ยาก หรือต้องใช้เวลานาน กว่าจะรักษาให้หายขาดได้ ผลกระทบที่ตามมานอกจากเรื่องจิตใจแล้ว ยังมีเรื่องของค่ารักษาพยาบาลซึ่งอาจแตะไปถึงหลักล้านได้เลยทีเดียว ดังนั้นการทำประกันที่คุ้มครองโรคร้ายแรงจะช่วยแบ่งเบาความหนักใจต่าง ๆ เหล่านี้ลงไปได้เยอะ อีกทั้งการทำประกันสุขภาพประเภทนี้เตรียมไว้ยังเป็นเหมือนการเตรียมเงินเอาไว้กรณีที่ต้องพักรักษาตัวนาน ๆ และต้องขาดงานอีกด้วย

ประกันโรคร้ายแรงเหมาะกับใครบ้าง ?

          หลายคนอาจคิดว่าคนที่จะเป็นโรคร้ายแรงได้ต้องเป็นผู้สูงอายุที่ผ่านการใช้ชีวิตมานานพอสมควร ดังนั้นคนที่อายุยังน้อยก็ยังไม่จำเป็นต้องทำประกันประเภทนี้ก็ได้ แต่ที่จริงแล้วนี่เป็นความเข้าใจที่ผิด ประกันโรคร้ายแรงสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย ไม่เกี่ยงอายุ

1. วัยทำงาน
ที่จริงแล้ววิถีชีวิตของวัยทำงานอายุประมาณ 20 ต้น ๆ นี่แหละที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรง เพราะการทำงานมีทั้งความเครียดสะสม งานที่รุมเร้าอาจทำให้เราละเลยการดูแลสุขภาพ ไหนจะสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ อย่างฝุ่นควันต่าง ๆ ล้วนทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคของคนวัยนี้ทั้งสิ้น และจากสถิติพบว่าโรคร้ายแรงก็มักจะเริ่มต้นเกิดในคนวัย 20 ต้น ๆ หรือในวัยทำงาน การทำประกันสุขภาพเอาไว้แต่เนิ่น ๆ จึงเป็นความอุ่นใจ อีกทั้งการเริ่มทำประกันขณะอายุยังน้อยยังช่วยให้เราจ่ายเบี้ยได้ถูกอีกด้วย

2. ผู้ที่มีประกันสวัสดิการด้านสุขภาพอยู่แล้ว
พนักงานบริษัท ข้าราชการ มักมีสวัสดิการสุขภาพอยู่แล้วซึ่งจะคุ้มครองโรคภัยไข้เจ็บทั่วไป แต่อาจไม่ครอบคลุมโรคร้ายแรง ดังนั้นการทำประกันสุขภาพโรคร้ายแรงเสริมเอาไว้จึงช่วยให้เรามีการคุ้มครองที่ครอบคลุมโรคต่าง ๆ ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เมื่อเกิดโชคร้ายเป็นอะไรขึ้นมาจึงไม่ต้องจ่ายแพงมากนัก

กรณีไหนที่ประกันจะไม่คุ้มครองโรคร้ายแรง

          แต่ถึงอย่างนั้น การทำประกันสุขภาพโรคร้ายแรงก็ใช่ว่าจะคุ้มครองได้ทุกกรณีแบบครอบจักรวาล เพราะยังมีข้อยกเว้นต่าง ๆ ที่ประกันอาจจะไม่คุ้มครองซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท ยกตัวอย่างเช่น

  1. ความเจ็บป่วยโรคร้ายแรงที่อาจเกิดจากการฆ่าตัวตาย การทำร้ายร่างกายตนเอง เพราะบริษัทประกันมองว่าเป็นผลมาจากการตัดสินใจกระทำให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยนั้น ๆ ขึ้นมาเอง
  2. ความเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากการสูดดม กิน ฉีด หรือนำสารพิษเข้าสู่ร่างกายทั้งขณะที่ยังรู้สึกผิดชอบหรือวิกลจริต ในกรณีนี้ยกตัวอย่างเช่น การไปทำศัลยกรรมต่าง ๆ แล้วเราเกิดแพ้ยาขั้นรุนแรงขึ้นมา บริษัทประกันบางแห่งอาจไม่ให้การคุ้มครอง
  3. ความเจ็บป่วยอันเกิดจากการก่ออาชญากรรม ขณะถูกจับกุม หรือหลบหนีการจับกุม
  4. ความเจ็บป่วยอันเกิดจากฤทธิ์ยาเสพติด หรือฤทธิ์สุราจนไม่สามารถครองสติได้
  5. โรคร้ายแรงหรือความผิดปกติที่ติดตัวมาแต่กำเนิดซึ่งผู้เอาประกันภัยทราบอยู่แล้วขณะทำสัญญา
  6. โรคร้ายแรงหรือความผิดปกติซึ่งได้รับการยืนยันโดยแพทย์ว่าเกิดก่อนวันเริ่มมีผลคุ้มครองตามสัญญาประกัน หรือก่อนวันเริ่มต่อสัญญา

          นอกจากข้อยกเว้นตามข้างต้นแล้ว ผู้เอาประกันต้องศึกษาให้ดีด้วยว่าแผนประกันนั้น ๆ มีผลคุ้มครองทันทีที่ทำสัญญาเลยหรือไม่ เพราะประกันประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period) ที่บริษัทประกันอาจกำหนดไว้ 90 วัน หรือ 120 วันนับตั้งแต่วันที่สัญญาอนุมัติซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละแห่ง นั่นหมายความว่าหากผู้เอาประกันเกิดเจ็บป่วยโรคร้ายแรงขึ้นภายในระยะเวลาดังกล่าวก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่จะได้รับเมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวไปแล้ว

บทความที่คุณอาจสนใจ

เหมาจ่ายเบี้ยไม่เกิน 4 หมื่น เจ้าไหนให้ "ค่ายากลับบ้าน" เยอะที่สุด ?
เตรียมพร้อมก่อนเป็น “คุณแม่”  เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ ต้องดูจุดไหนบ้าง ?
“ฝันร้ายของเด็กเล็ก” ไวรัส RSV ค่ารักษาสูง ประกันที่ครอบคลุมคือคำตอบ
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น