หลังจากการระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีที่แล้ว หลายคนคงรอคอยวันที่มีวัคซีนออกมารักษา จะได้เบาความกังวลเรื่องความปลอดภัยลงได้บ้าง และในปี 2021 นี้ ข่าวเรื่องวัคซีนโควิด-19 ก็ถูกคิดค้นและนำมาใช้จริงกันแล้วในหลายประเทศ อย่างเช่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ
วัคซีนโควิด มีประโยชน์ยังไงบ้าง ?
การฉีดวัคซีนจะมีทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มแรกเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน 60-70% หลังจาก 3-4 สัปดาห์จึงฉีดเข็มที่ 2 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากรอบแรกให้สูงเกือบ 90% พูดง่าย ๆ ว่าเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ยากขึ้น แม้จะช่วยป้องกันอาการป่วยรุนแรงได้แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าวัคซีนนี้ป้องกันการติดเชื้อนั่นเองค่ะ อย่างไรก็ตามร้อยละของประสิทธิภาพวัคซีนขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนและร่างกายของแต่ละคนด้วยนะคะ
เช็คก่อนฉีดวัคซีนโควิด ควรเตรียมตัวยังไงบ้าง ?
พักผ่อนให้เพียงพอและเตรียมร่างกายให้แข็งแรง การมีภูมิต้านทานที่ดีนับเป็นหัวใจหลักของการฉีดวัคซีนทุกชนิดรวมถึงวัคซีนโควิดก็เช่นกันนะคะ หากร่างกายแข็งแรงดีอยู่แล้ว เช็คแล้วว่าไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ ก็สามารถรับวัคซีนได้เลยค่ะ
หลังฉีดวัคซีนโควิด จะมีผลข้างเคียงยังไงบ้าง ?
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนค่ะว่า “วัคซีน” ก็คือส่วนหนึ่งของเชื้อโรคที่จะเข้าไปทำให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่จะมี “ผลข้างเคียง” ตามมา แม้ว่าหลายคนจะอยากฉีดแค่ไหนก็ต้องถูกเบรคไว้ด้วยอาการของผลข้างเคียงนั่นเองค่ะ
ปกติแล้วผลข้างเคียงของคนทั่วไปที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 อาการก็จะคล้าย ๆ กับการฉีดวัคซีนอื่น ๆ เช่น อ่อนเพลีย ปวดหัว มีไข้ สำหรับคนที่แพ้วัคซีนโควิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีประวัติแพ้ยาและแพ้อาหาร ซึ่งเป็นส่วนน้อย มีโอกาสเกิด 10-20 คนจาก 1 ล้านคน
ทั้งนี้ วัคซีนโควิดที่ได้รับการคิดค้นออกมามีจาก 4 บริษัท มาดูกันว่าสำหรับคนที่แพ้จะมีอาการยังไงบ้าง ? (ข้อมูลจากวันที่ 8 ม.ค.64)
1. ไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค (Pfizer)
• มีผื่นขึ้นตามร่างกาย อาเจียน ใบหน้าบวม หายใจติดขัด
2. โมเดอร์นา (Moderna)
• มีผื่นขึ้นตามร่างกาย อาเจียน ใบหน้าบวม หายใจติดขัด
3. อ๊อกฟอร์ด-แอสตราเซเนเกา (AstraZeneca)
• มีผื่นขึ้นตามร่างกาย ใบหน้าบวม
4. ซิโนแวค (Sinavac)
• ยังไม่มีข้อมูล เนื่องจากการทดสอบในเฟสที่ 3 ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
ด้านผลข้างเคียงจึงสรุปได้ว่า อาการแพ้วัคซีนดังกล่าวข้างต้น ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคนด้วยค่ะ อย่างในกรณีต่างประเทศที่ผู้สูงอายุแพ้รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต นับเป็นเรื่องที่ยังต้องตรวจสอบกันอีกยาว เพราะยังไม่มีใครตอบได้ชัดเจนว่าการเสียชีวิตเกิดจากการฉีดวัคซีนโควิดโดยตรงหรือไม่ เลยอยากให้เข้าใจไว้ว่าวัคซีนทุกชนิดมีโอกาสแพ้รุนแรงได้เสมอเลยล่ะค่ะ
หากฉีดแล้วแพ้ มีทางแก้ยังไง ?
เมื่อการฉีดวัคซีนยังไม่ลุล่วงไปด้วยดี ยังพ่วงมาด้วยอาการแพ้ต่าง ๆ ทำให้ในปัจจุบันมีแผนประกันออกมาคุ้มครองในกรณีที่แพ้วัคซีนโควิดกันแล้วนะคะ เหมาะมาก ๆ ในช่วงเตรียมความพร้อมก่อนรับวัคซีนแบบนี้
โดยแผนประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 เจ้าแรกในไทยจากกรุงเทพประกันภัย มีค่าเบี้ยให้เลือกตั้งแต่ 79-679 บาท (เบี้ยประกันแพ้วัคซีนนี้สำหรับผู้ที่มีแผนประกันโควิดบริษัทใดก็ได้อยู่แล้วนะคะ) ว่าแต่มีความคุ้มครองอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ
เจอ-แพ้-จ่ายค่ารักษาสูงสุด 100,000 บาท อันนี้ต้องเป็นผู้ป่วยในเท่านั้น โดยหากหมอวินิจฉัยว่าอาการแพ้มาจากวัคซีน สามารถเคลมค่ารักษาผู้ป่วยในได้เลย
รับเงินปลอบขวัญเมื่อพักรักษาตัวที่ รพ.ไม่น้อยกว่า 5 วัน กรณีนี้ถ้าเป็นหนัก นอนโรงพยาบาลยาวเกิน 5 วัน รับเงินปลอบขวัญสูงสุด 50,000 บาท
จ่ายภาวะโคม่าจ่ายสูงสุด 1 ล้านบาท
คุ้มครองอุบัติเหตุ อ.บ.1
จะเห็นได้ว่า การมีแผนประกันโควิดอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอ เนื่องจากเราก็ไม่มีทางรู้ว่าถ้าเราฉีดวัคซีนในอนาคต เราจะแพ้มั้ยหรือจะแพ้มากน้อยแค่ไหน ? หากใครที่มีประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง การมองหาประกันแพ้วัคซีนโควิดก่อนเข้ารับวัคซีนก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีนะคะ
ยอดผู้ติดเชื้อยังสูงอยู่ทุกวัน สำหรับใครที่กำลังมองหาแผนประกันโควิดตอนนี้ก็ยังไม่สาย คลิก