อย่างที่รู้กันดีว่าทุกการเจ็บป่วยมักตามมาด้วยค่ารักษายิบย่อยที่รบกวนกระเป๋าตังค์อยู่เสมอ โดยหลัก ๆ แล้วก็จะมีค่าห้อง ค่าหมอ ค่ายา ที่เป็น 3 ค่ารักษาหลักที่เราต้องเผชิญกันนั่นเองค่ะทุกคน
โดยปกติแล้วขั้นตอนสุดท้ายก่อนกลับจาก รพ. คือการรับยาและจ่ายเงิน สำหรับใครที่มีสวัสดิการอย่างประกันสังคมหรือประกันสุขภาพ รับรองว่าอุ่นใจยามเดินไปถึงช่องจ่ายเงินแน่นอนค่ะ และบ่อยครั้งที่เราได้ยาเป็นถุงกลับบ้านที่เบิกเคลมได้จาก OPD หรือผู้ป่วยนอก แล้วถ้าเกิดเป็นการรักษาต่อเนื่อง เช่น หลังการผ่าตัด หลังการพักฟื้นล่ะ ค่ายาส่วนนี้จะเบิกเคลม OPD ได้ด้วยหรือเปล่า ?
ค่ายา OPD VS “ค่ายากลับบ้าน” ต่างกันยังไง ?
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า OPD ครอบคลุมการรักษาที่เป็นการ “หาหมอ รับยา กลับบ้าน” เช่น ปวดหัว ตัวร้อน อาหารเป็นพิษ ฯลฯ พูดง่าย ๆ ว่าจ่ายทุกค่ารักษาที่ไม่ต้องนอน รพ. ค่ายาพวกนี้จะอยู่ในส่วนของ OPD นั่นเองค่ะ
สำหรับ “ค่ายากลับบ้าน” ที่เพิ่มเติมขึ้นมาในประกันสุขภาพเหมาจ่าย ที่เรียกว่า “ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์สิ้นเปลืองสำหรับกลับบ้าน หรือ เวชภัณฑ์ 1” มีความพิเศษและแตกต่างจาก “ค่ายา OPD” ทั่วไป ตรงที่เป็นค่ายาสำหรับการรักษาต่อเนื่องตามความจำเป็นทางการแพทย์ที่ใช้ไม่เกิน 7 วัน หลังจากออกจาก รพ. นั่นเองค่ะ
ยกตัวอย่าง ในกรณีที่นาย A แอดมิตผ่าตัดไส้ติ่ง ต้องนอนพักรักษาตัวที่ รพ. 2-3 วัน หลังจากหายดีแล้วสามารถออกจาก รพ.ได้ และคุณหมอขอนัดมาติดตามอาการ (Follow up) ในครั้งถัดไปด้วย เคสนี้นับเป็นการรักษาต่อเนื่องนั่นเองค่ะ หลังจากมาหาหมอตามนัดแล้วถ้ามีการจ่ายยาเพิ่มเติม นาย A สามารถเบิกค่ายาในส่วนนี้ได้จากหมวด “ค่ายากลับบ้าน” ได้ตามวงเงินแต่ละแผนนั่นเองค่ะ
เอาเป็นว่าใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพเหมาจ่ายอยู่ และอยากได้ “ค่ายากลับบ้าน” แบบเหมา ๆ ไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายเพิ่ม วันนี้เราคัดแผนเด็ดมาให้ได้ตัดสินใจกัน กับ 6 แผนเหมาจ่ายจาก 6 บริษัทประกันชั้นนำ มาดูพร้อมกันเลยค่ะทุกคน (เปรียบเทียบจากเพศหญิง อายุ 35 ปี ค่าเบี้ยรวมสัญญาหลัก)
1. โตเกียวมารีนประกันชีวิต Tokio Good Health แผน VIP 3000
• ค่ายากลับบ้าน 1 ล้านบาท
• ค่าเบี้ย 25,461 บาท
แผนแรกเริ่มกันที่โตเกียวมารีน ที่ได้ค่ายากลับบ้านแบบเหมาเต็มแม็กซ์ จ่ายตามจริงกันจุก ๆ 1 ล้านบาทต่อครั้งไปเลยค่ะทุกคน (ไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อปี) อีกทั้งค่าเบี้ยประมาณ 25,000 บาทเท่านั้น ใครที่อยากเซฟงบค่าเบี้ยแต่ได้ค่ายากลับบ้านแบบอันลิมิต แผนนี้ตอบโจทย์สุด ๆ ค่ะ
2. เมืองไทยประกันชีวิต Elite Health แผน 1
• ค่ายากลับบ้าน 100,000 บาท
• ค่าเบี้ย 29,726 บาท
ไปต่อกันที่เมืองไทยประกันชีวิต แผนสุดฮิตอย่าง Elite Health ที่ได้ค่ายากลับบ้านสูงถึง 1 แสนบาท (ไม่เกิน 30 วัน) จึงมั่นใจได้ว่าค่ายาบางโรคที่แสนแพงก็ยังพอจ่ายนะคะ กับค่าเบี้ยประมาณ 30,000 บาท ใครที่เป็นแฟนตัวยงของเมืองไทยประกันชีวิต แผนนี้ก็คุ้มค่าน่าสนใจค่ะ
3. ฟิลลิปประกันชีวิต HS Gold แผน 1
• ค่ายากลับบ้าน 100,000 บาท
• ค่าเบี้ย 38,044 บาท
ถัดมาที่ฟิลลิปกันบ้างค่ะ แผนนี้ค่ายากลับบ้านก็สูงปรี๊ดถึง 1 แสนบาทเช่นกัน อัดฉีดกันแบบจัดหนักจริง ๆ ไม่ว่ายาตัวไหนก็เคลมได้แบบเหลือ ๆ ค่าเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 38,000 บาท ใครที่สนใจเจ้านี้เป็นพิเศษก็ห้ามพลาดเลยล่ะค่ะ
4. เอไอเอ Health Happy แผน 1 ล้าน
• ค่ายากลับบ้าน 20,000 บาท
• ค่าเบี้ย 20,440 บาท
ต่อมาที่เอไอเอ กับแผนใหม่สุดฮิตอย่าง Health Happy ที่ค่าเบี้ยถูกที่สุดจากทั้งหมดที่เราคัดเลือกมาค่ะ อีกทั้งค่ายากลับบ้านได้สูงถึง 20,000 บาท หมอนัด Follow up ก็ยังจ่ายพอเช่นกันค่ะ
5. กรุงเทพประกันชีวิต Health Plus แผน 3
• ค่ายากลับบ้าน 3,000 บาท
• ค่าเบี้ย 33,709 บาท
มาต่อกันที่แผนรองสุดท้ายจากกรุงเทพประกันชีวิต อีกหนึ่งแผนที่ครองใจชาวเหมาจ่ายค่ะ แผนนี้ค่ายากลับบ้านลดลงมาที่ 3,000 บาท อาจเพียงพอได้ในระดับนึงหากยาไม่ได้ราคาสูงปรี๊ด และค่าเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 34,000 บาทนั่นเองค่ะ
6. อลิอันซ์ อยุธยา ปลดล็อค อัลตร้า แผน 2
• ค่ายากลับบ้าน 3,000 บาท
• ค่าเบี้ย 38,645 บาท
แผนสุดท้ายจากอลิอันซ์ อยุธยา ได้ค่ายากลับบ้าน 3,000 บาทเท่ากับกรุงเทพประกันชีวิต ค่าเบี้ยประมาณ 38,000 บาท ซึ่งต่างกับกรุงเทพประกันชีวิตประมาณ 4,000 บาทนั่นเองค่ะ ถูกใจแผนไหนก็เลือกได้ตามใจชอบเลยนะคะ
สุดท้ายนี้ ทุกค่ารักษาของแผนประกันล้วนสำคัญทั้งหมด ค่ายากลับบ้านก็เป็นอีกหนึ่งความคุ้มครองที่จำเป็นหากการรักษาครั้งนั้นต่อเนื่อง ทางที่ดีอย่าลืมเลือกประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่คุ้มครองหมวดค่ายากลับบ้านเผื่อไว้เป็นดีที่สุดนะคะ