ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

โรคที่มากับน้ำท่วมมีอะไรบ้าง และต้องรับมืออย่างไร ?

ทุกครั้งเมื่อเกิดอุทกภัย นอกจากความเสียหายต่อทรัพย์สินแล้ว ‘โรคที่มากับน้ำท่วม’ ยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาเตือนให้ประชาชนคอยเฝ้าระวังอยู่เสมอ เพราะน้ำที่ปนเปื้อนและสภาพแวดล้อมชื้นแฉะคือสิ่งที่เอื้อต่อการติดเชื้อโรคภัยต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าปกติ ดังนั้น การรู้เท่าทันและเตรียมตัวให้พร้อมย่อมช่วยลดความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บเหล่านี้ได้

ผู้หญิงเดินลุยน้ำท่วมทำให้เสี่ยงที่จะติดโรคที่มากับน้ำ

1. โรคระบบทางเดินหายใจ : ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม

ในช่วงน้ำท่วม อากาศที่ชื้นและเย็นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจได้ง่าย โดยเฉพาะไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม 

  • ไข้หวัด : มักมีอาการน้ำมูกไหล จาม ไอ และอาจมีไข้เล็กน้อย
  • ไข้หวัดใหญ่ : อาการคล้ายไข้หวัด แต่รุนแรงกว่า มักมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย
  • ปอดบวม : เกิดจากการติดเชื้อที่ปอด มีอาการไอมาก หายใจลำบาก มีไข้สูง

วิธีป้องกัน :

  • รักษาร่างกายให้อบอุ่น โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
  • สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกนอกบ้าน

2. โรคระบบทางเดินอาหาร : โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ

น้ำท่วมขัง เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคมากมาย ซึ่งสามารถปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่มได้ง่าย ทำให้เกิดโรคที่มากับน้ำซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ

  • โรคอุจจาระร่วง : มีอาการถ่ายเหลวบ่อยครั้ง อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
  • อาหารเป็นพิษ : มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรง และอาจมีไข้ร่วมด้วย

วิธีป้องกัน :

  • ดื่มน้ำต้มสุก หรือน้ำบรรจุขวดที่ปิดสนิทเท่านั้น
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไว้นาน
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่วางขายริมทาง โดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วม

3. โรคฉี่หนู (หรือโรคเลปโตสไปโรซิส)

โรคฉี่หนู เป็นโรคที่มากับน้ำท่วมซึ่งติดต่อจากสัตว์สู่คนที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา ซึ่งอยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะ โดยเฉพาะหนู

อาการ : ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่อง ตาแดง อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นตับไตวายได้

วิธีป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะเมื่อมีบาดแผลตามร่างกาย
  • สวมรองเท้าบูตยางเมื่อต้องเดินลุยน้ำ
  • ล้างมือและเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำท่วมขัง
  • กำจัดขยะและแหล่งอาหารที่อาจดึงดูดหนูให้เข้ามาในบริเวณที่อยู่อาศัย

4. โรคน้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้า เป็นภาวะผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการแช่น้ำเป็นเวลานาน พบได้บ่อยในผู้ที่ต้องเดินลุยน้ำท่วมขัง

อาการ : ผิวหนังบริเวณเท้าเปื่อย นุ่ม และขาวซีด อาจมีอาการคัน แสบร้อน หรือปวด ในกรณีที่รุนแรงอาจมีแผลพุพองและติดเชื้อได้

วิธีป้องกัน :

  • วิธีป้องกันโรคที่มากับน้ำโรคนี้ที่ง่ายที่สุดคือ การสวมรองเท้าบูตยางเมื่อต้องเดินลุยน้ำ
  • พยายามให้เท้าแห้งอยู่เสมอ โดยเช็ดให้แห้งและเปลี่ยนถุงเท้าบ่อย ๆ
  • ทาแป้งหรือโลชั่นกันน้ำบริเวณเท้าก่อนสวมรองเท้า
  • หากมีอาการ ให้ล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง แล้วทายาฆ่าเชื้อ

คนกำลังขี่มอเตอร์ไซค์ลุยน้ำเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะติดโรคที่มากับน้ำ

5.โรคตาแดง

โรคตาแดงหรือโรคเยื่อบุตาอักเสบ มักพบได้บ่อยในช่วงน้ำท่วม เนื่องจากน้ำที่ท่วมขังมักมีเชื้อโรคปนเปื้อน

อาการ : ตาแดง คัน มีขี้ตามาก น้ำตาไหล บางรายอาจมีอาการตาพร่ามัวร่วมด้วย

วิธีป้องกัน :

  • หลีกเลี่ยงการใช้มือสกปรกขยี้ตา
  • ล้างหน้าและตาด้วยน้ำสะอาดบ่อย ๆ
  • สวมแว่นตาเพื่อป้องกันน้ำกระเด็นเข้าตา

6.โรคไข้เลือดออก

โรคนี้อาจจะไม่ใช่โรคที่มากับน้ำท่วมโดยตรง เนื่องจากน้ำท่วมจะชะล้างแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายไป แต่เมื่อน้ำลด ก็จะเกิดแหล่งน้ำขังใหม่มากมาย ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกนั่นเอง

อาการ : ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ อาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะช็อกจากการรั่วของพลาสมา

วิธีป้องกัน :

  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ภาชนะที่มีน้ำขัง
  • นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด
  • ใช้ยากันยุงหรือสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดเมื่อต้องอยู่ในที่มียุงชุกชุม
  • หากสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ควรรีบพบแพทย์ทันที

7. โรคไข้มาลาเรีย

ถึงแม้ไข้มาลาเรียจะพบได้น้อยลงในปัจจุบัน แต่ในช่วงน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าเขาหรือชายแดน ยังคงต้องระวังโรคที่มากับน้ำชนิดนี้อยู่

อาการ : ไข้สูงเป็นระยะ หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะโลหิตจาง ตับโต หรือไตวายได้

วิธีป้องกัน :

  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วม
  • นอนในมุ้งชุบสารเคมีกำจัดยุง
  • สวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดเมื่อต้องอยู่ในที่มียุงชุกชุม

ถึงแม้น้ำท่วมจะเป็นภัยพิบัติที่คาดเดาได้ยากและยากที่จะหลีกเลี่ยง แต่สิ่งที่เราทุกคนทำได้คือการเตรียมพร้อมรับมือล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเสบียงอาหาร ยา สิ่งของจำเป็น รวมถึงการทำประกันสุขภาพ เพราะถ้าตัวเราหรือคนในครอบครัวล้มป่วยด้วยโรคที่มากับน้ำท่วม สิ่งนี้ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ โดยขอแนะนำประกันสุขภาพ so you จากทาง gettgo ซื้อง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ราคาเบี้ยเริ่มต้นไม่ถึงหมื่น และเลือกปรับแต่งได้ตามใจ ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่ โทร. 02-111-7800 หรือ LINE OA : @gettgo

 

ข้อมูลอ้างอิง

Diseases and Other Hazards That Come with Flooding. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567. จาก https://www.bangkokhospital.com/en/content/contagious-diseases-dangerous-from-the-flood?srsltid=AfmBOopWrqsD6u7o8fyl4kwavzWQHA0K9cFP0-bAV40EoYj_KmoY24CF

บทความที่คุณอาจสนใจ

“ทำจมูก ทุบหน้า” ทำศัลยกรรมอะไรมา ก็ต้องแถลงต่อบริษัทประกัน
LGBTQA+ เพศเดียวกัน ก็ทำประกันให้กันได้
‘เมื่อเพศทางเลือก กลับเลือกไม่ได้’ สิทธิ์การรักษาที่หล่นหายแม้เป็นคนในครอบครัว
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น