สวัสดีครับทุกคน วันนี้ข่าวยอดผู้ติดเชื้อยังไม่มีวี่แววจะลดลงเลยครับ ใช้ชีวิตบนความเสี่ยงรายวันกันแบบนี้ เรามาดูกันว่าความเสี่ยงที่ว่านี้มีอะไรกันบ้าง ?
เช็คก่อน! คุณเองกำลังเสี่ยงรายวันอยู่รึเปล่า ?
เชื่อว่าหลายคนยังคงต้องไปทำงานพบปะผู้คนแบบเลี่ยงไม่ได้ หรือบางคนก็ดีหน่อยที่ยัง WFH ได้อยู่ เอาเป็นว่าแม้ต้องเผชิญความเสี่ยง แต่ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรทำครับ ผมขอแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้
1. ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
กลุ่มนี้ผมให้อยู่ในกลุ่มสีแดงแล้วกันครับ เพราะมีความเสี่ยงสูง พบเจอกับผู้ติดเชื้อในพื้นที่ปิด แบบไม่สวมหน้ากากอนามัย พูดง่าย ๆ ว่าใช้ชีวิตร่วมกันในพื้นที่ที่จำกัด นานกว่า 15 นาที รวมถึงมีการไอหรือจามโดยไม่มีการป้องกันนั่นเองครับ ใครที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องรีบกักตัวและไปตรวจโควิด-19 อย่างไวที่สุดเลยครับ
ตัวอย่างของคนกลุ่ม 1 เช่น แคมป์คนงานไซต์ก่อสร้างที่เราเห็นกันตามข่าวบ่อย ๆ อย่างคลัสเตอร์คลองเตยที่ผ่านมา เนื่องจากการอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด อาจไม่มีการเว้นระยะห่างเท่าที่ควร หากมี 1 คนติดโควิด คนอื่น ๆ ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะติดไปตาม ๆ กันครับ หรืออีกหนึ่งอาชีพเสี่ยงอย่างคนขับแท็กซี่ก็เช่นกัน หากมีผู้โดยสารที่ติดโควิดขึ้นมาบนรถแต่คนขับไม่มีการสวมใส่แมสก์ อยู่ในพื้นที่แคบ อากาศไม่ถ่ายเทแบบนี้ อันตรายมาก ๆ ครับ ต้องรีบกักตัวแล้วไปตรวจด่วน ๆ
2. ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ
กลุ่มนี้ผมขอจัดให้อยู่ในกลุ่มสีเหลือง มีความเสี่ยงต่ำ ยังก้ำกึ่งว่าจะติดหรือไม่ติด กรณีนี้ก็ต้องกักตัว 14 วันเช่นกัน และคอยเช็คอาการอย่างละเอียด เลี่ยงพื้นที่ชุมชม สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ ครับ
ตัวอย่างของคนกลุ่ม 2 เช่น นาย A พนักงานออฟฟิศนั่งทำงานติดกับนาย B ซึ่งนาย B ไปอยู่ใกล้ชิดกับคนที่ติดโควิดมาวันก่อน ในกรณีนี้นาย A ป้องกันตัวเองอย่างดี ใส่แมสก์ตลอด เว้นระยะห่าง นับว่ามีความเสี่ยงต่ำนั่นเองครับ
3. ไม่มีความเสี่ยง
กลุ่มนี้อยู่สีเขียวแบบชิลล์ ๆ ได้เลยครับ หากคุณเป็นคนที่ไม่ได้ออกไปไหนมาไหน ไม่ปาร์ตี้สังสรรค์ เป็นคนที่ไปซื้อของที่ซุปเปอร์แล้วกลับบ้าน ทำอาหารกินเอง เว้นระยะห่างตามระเบียบ ก็อุ่นใจไปได้เยอะเลยล่ะครับ แต่ผมว่าอย่าชะล่าใจไป ยังไงก็ต้องเซฟตัวเองดี ๆ แบบนี้ต่อไปนะครับ
รู้ทันความเสี่ยงกันไปแล้ว หลายคนก็เตรียมรับมือกับการฉีดวัคซีนกันต่อ จะว่าไป คิวฉีดวัคซีนที่ถูกเลื่อนก็เริ่มกลับมาพร้อมฉีดได้บ้างแล้วสำหรับคนที่ลงทะเบียนไว้ บ้างก็ได้ฉีดซิโนแวค บ้างก็ได้ฉีดแอสตร้าฯ อาการข้างเคียงก็แตกต่างกันไป อย่างเพื่อนผมบางคนไม่เป็นอะไรเลยก็มีครับ ในเมื่อเราไม่สามารถเลือกได้ว่าจะได้รับวัคซีนตัวไหน งั้นผมจะมาบอกเล่าอาการแพ้ของวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ให้ทุกคนได้เตรียมตัวกันดีกว่าครับ
ซิโนแวค vs แอสตร้าฯ แพ้ต่างกันยังไงบ้าง ?
ข้อมูลอัปเดตช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 มิ.ย.64) หลังจากผู้คนเริ่มทยอยรับวัคซีนกันแล้ว ทางเพจไทยรู้สู้โควิด ก็ได้กระจายข่าวตัวเลขคนแพ้วัคซีนให้เราได้ทราบกันครับ พบว่า
- ซิโนแวค ฉีดสะสม 5,060,090 โดส พบอาการไม่พึงประสงค์ผู้ป่วยใน 993 ราย
- แอสตร้าฯ ฉีดสะสม 1,943,693 โดส อาการไม่พึงประสงค์ผู้ป่วยใน 472 ราย
ซิโนแวค - อาการที่พบ ได้แก่ เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน ผื่น ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย คัน
แอสตร้าเซนเนก้า - อาการที่พบ ได้แก่ มีไข้/ปวดหัว อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายไข้หวัดใหญ่ ถ่ายเหลว
นอกจากนี้ กรมการแพทย์ยังคอนเฟิร์มอีกว่าในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน หลังฉีดแอสตร้าฯ จะมีอัตราการแพ้มากกว่าผู้สูงอายุ เนื่องจากแอสตร้าฯ เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่านั่นเองครับ แต่ในขณะเดียวกันแอสตร้าฯ ถูกนำมาฉีดให้คนวัยหนุ่มสาวมากกว่าซิโนแวค ส่งผลให้คนเหล่านี้มีอาการแพ้มากขึ้น ยิ่งถ้ามีโรคประจำตัวด้วยแล้วอาจเสี่ยงแพ้หนักได้นั่นเองครับ
สำหรับใครที่ทั้งกลัวติดโควิด เพราะเช็คแล้วอยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้านบน หรือกลัวแพ้วัคซีน แต่ก็ยังไม่ได้ทำประกันโควิดและประกันแพ้วัคซีนสักที ผมขอแอบบอกว่าทำตอนนี้ก็ยังไม่สายครับ เพราะปกติประกันโควิดมีระยะรอคอยถึง 14 วัน หากติดถึงจะเคลมได้ ซึ่งเสียเวลารอนานขนาดนี้ ถ้าโชคร้าย ติดขึ้นมาในวันสองวันนี้ จะทำยังไง ถูกมั้ยครับ
ทางเลือกใหม่จากเอฟดับบลิวดีประกันภัย ประกันโควิดเจ้าเดียวในตลาดที่สาดไฟเขียวให้ระยะรอคอย ซื้อวันไหน คุ้มครองวันนั้น ใช้ชีวิตเสี่ยงรายวันแบบนี้ ซื้อแล้วคุ้มครองทันทีคือทางออกครับ ย้ำอีกนิดว่าต้องไวแล้วนะครับ แผนดี ๆ แบบนี้เหลือเวลาอีก 5 วันเท่านั้น! ซื้อได้ตั้งแต่วันนี้ - 30 มิ.ย. 64 เวลา 3 ทุ่มนะครับ คลิก
Source: bit.ly/3wR80rk, bit.ly/3xPq9pr, bit.ly/3h1B6gV