“อยากไปบริจาคเลือด แต่มีรอยสัก ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อห้ามไหม?”
หนึ่งในวิธีการแบ่งปันสิ่งดี ๆ ต่อเพื่อนมนุษย์ที่ง่าย สะดวก และเกิดประโยชน์มากที่สุดก็คือ “การบริจาคเลือด” โดยข้อมูลจากสภากาชาดไทยเผยว่า คลังเลือดของประเทศไทยขาดแคลนอยู่เสมอ เนื่องจากความต้องการใช้เลือดมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่าปริมาณเลือดที่ได้รับการบริจาคเข้ามา โดยปริมาณความต้องการใช้เลือดของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านยูนิตต่อปี ในขณะที่ปริมาณเลือดที่บริจาคเข้ามาอยู่ที่ประมาณ 1.6 ล้านยูนิตต่อปี ทำให้คลังเลือดขาดแคลนอยู่ประมาณ 400,000 ยูนิตต่อปี ดังนั้น หากคุณอยากมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สามารถทำได้โดยการบริจาคเลือด อย่างไรก็ตาม การบริจาคเลือดไม่ใช่อยากจะไปบริจาคก็สามารถทำได้เลย เพราะการบริจาคเลือดมีข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ควรทราบ โดยบทความนี้รวบรวมมาไว้ในที่เดียว ติดตามได้เลย
ข้อห้ามในการบริจาคเลือด
ถึงแม้การบริจาคเลือดจะสามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้อย่างมหาศาล แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ เพราะนอกจากจะต้องเป็นผู้ที่อายุ 17-70 ปี มีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักตัวมากกว่า 50 กิโลกรัมและพักผ่อนเพียงพอแล้ว การบริจาคเลือดก็ยังมีข้อห้ามที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
ข้อห้ามชั่วคราว
- สตรีที่กำลังตั้งครรภ์: เนื่องจากร่างกายจำเป็นต้องใช้เลือดมากในการเลี้ยงดูทารกภายในครรภ์ จึงไม่ควรที่จะมาบริจาคโลหิต แนะนำให้รอหลังจากที่คลอดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง: เพราะร่างกายอ่อนเพลียจากการสูญเสียน้ำ การบริจาคเลือดจึงเป็นข้อห้าม เนื่องจากอาจส่งผลอันตรายได้ แนะนำให้รอ 7 วันหลังจากที่หายดีแล้วเป็นอย่างน้อย
- ผู้ที่มีการสักหรือเจาะผิวหนัง: แพทย์จะแนะนำให้เว้นระยะการบริจาคเลือดไปประมาณ 1 ปี ภายหลังการสักหรือเจาะครั้งล่าสุด เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้
- ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และรักษารากฟัน: หากเพิ่งได้รับการรักษาทางทันตกรรมเหล่านี้มา ควรงดการบริจาคเลือดประมาณ 3-5 วันเป็นอย่างต่ำ
- มีประวัติติดยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษในระยะ 3 ปี: เหตุเพราะการใช้สารเสพติด รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสพมีโอกาสสูงที่จะทำให้มีการติดเชื้อในเลือด ดังนั้น ต้องเว้นระยะ 3 ปีก่อนการบริจาคเลือด
- ได้รับการผ่าตัด: สำหรับการผ่าตัดเล็ก ให้งดบริจาคเลือดเป็นระยะเวลา 7 วัน ส่วนผ่าตัดใหญ่ แพทย์แนะนำให้งด 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
- รับประทานยาแก้ปวดแอสไพริน: งดเว้นการบริจาคเลือด 3 วัน
- ป่วยเป็นไข้หวัด: สำหรับไข้หวัดธรรมดา หลังจากหายดีแล้ว 7 วันสามารถบริจาคเลือดได้ แต่สำหรับไข้หวัดใหญ่ ควรต้องรออย่างน้อย 4 สัปดาห์
ข้อห้ามถาวร
- ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
- โรคเอดส์ หรือติดเชื้อ HIV
- โรคไวรัสตับอักเสบ
- ผู้ป่วย หรือเคยป่วยด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน
- โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง
- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง งดบริจาคเลือดถาวร ถึงแม้จะรักษาหายแล้วก็ตาม
- โรคถุงลมโป่งพอง
- โรคหนองใน
- ภาวะเหล็กเกิน
- ไทรอยด์เป็นพิษ
- โรคพาร์กินสัน
- โรคซิฟิลิส
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการบริจาคเลือด
หากต้องการที่จะบริจาคเลือด นอกจากข้อห้ามแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องรู้ก็คือ “การเตรียมตัว” เพื่อให้เลือดของเรามีคุณภาพดี พร้อมสำหรับการบริจาคมากที่สุด ไม่ต้องกลัวเสียเที่ยวว่าเลือดจะลอย ไม่สามารถบริจาคได้ โดยแบ่งเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
- นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ในคืนก่อนบริจาค
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนการบริจาคเลือด
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมันจัด เช่น ข้าวขาหมู ไก่ทอด ก่อนมาบริจาคโลหิตภายใน 3 ชั่วโมงก่อนมาบริจาค
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี
- สวมใส่เสื้อผ้าสบาย ไม่คับจนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณแขนเสื้อ โดยควรสามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
บริจาคเลือดได้บ่อยแค่ไหน?
ตามคำแนะนำของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย สามารถบริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 4 ครั้ง คือทุก 3 เดือน โดยแบ่งเป็น 2 ครั้งต่อไตรมาส เมื่อได้ทราบแล้วว่าการบริจาคเลือดมีข้อห้ามอะไรบ้าง ดังนั้น เพื่อการมีสุขภาพที่ดี สามารถบริจาคเลือดแก่ผู้อื่นได้อย่างยาวนาน ก็ควรที่จะทำประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์และสร้างหลักประกันที่มั่นคงด้วย โดยขอแนะนำประกันสุขภาพ So You จาก gettgo ซื้อง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ สมัครง่าย 5 นาทีเสร็จ แค่บัตรประจำตัวประชาชนใบเดียว ปรับแต่งความคุ้มครองต่าง ๆ ได้เอง คุ้มครองโรคร้ายแรงต่าง ๆ ทั้งโรคมะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จนถึงระยะรุนแรง หรือโรคร้ายแรงยอดฮิต เพิ่มด้วย D Care รับผลประโยชน์เป็นเงินก้อน หรือคุ้มครองสุขภาพ D Health (N) ที่ให้ความคุ้มครองผู้ป่วยในแบบเหมาจ่าย วงเงินสูงสุด 5 แสนบาทต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง หรือเลือก Top up จากความคุ้มครองสุขภาพที่มีอยู่ได้สูงสุด 1 ล้านบาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-111-7800 หรือ LINE OA : @gettgo
ข้อมูลอ้างอิง
- โรคและภาวะต่างๆ ที่มีผลต่อการบริจาคโลหิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 จาก https://blooddonationthai.com/wp-content/uploads/2021/12/โรคและภาวะต่างๆ-ที่มีผลต่อการบริจาคโลหิต.pdf
- คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/th/blood_bank