ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

เจ้าของรถเก่าต้องรู้ รถกี่ปีต้องตรวจสภาพ และมีขั้นตอนอย่างไร

รถกี่ปีต้องตรวจสภาพ

 

รู้หรือไม่ ? รถที่ใช้มานานหลาย ๆ ปี ต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถยนต์ด้วยนะ หลายคนอาจจะคิดว่า แค่ดูแลไม่ให้ไปเฉี่ยวชนจนเสียหาย หมั่นล้างรถให้ดี ก็น่าจะพอแล้ว รถก็ยังใช้ได้ไม่มีปัญหาอะไร แต่แท้จริงแล้ว การนำรถเข้าไปตรวจสภาพรถยนต์ประจำปีนั้นสำคัญและจำเป็นทั้งในด้านกฎหมาย และความปลอดภัยของผู้ใช้รถเอง แล้วจะนำรถไปตรวจอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง และรถกี่ปีต้องตรวจสภาพ วันนี้ Dr. Gett มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้ว

 

ทำไมถึงต้องตรวจสภาพรถยนต์

หากเปรียบรถยนต์เป็นมนุษย์ การรักษาไม่ให้เฉี่ยวชน หมั่นดูแลความสะอาดเป็นประจำ ก็คงเหมือนกับการที่เราคอยดูแลสุขภาพตัวเองไม่ให้เจ็บป่วย ขณะที่การนำรถเข้าตรวจสภาพ ก็เหมือนกับการที่เราไปตรวจสุขภาพประจำปีที่โรงพยาบาล เพื่อให้รู้ว่ามีจุดไหนที่จะต้องรักษาหรือไม่ ยิ่งอายุมากขึ้น โรคยิ่งถามหาง่ายขึ้น ไม่ต่างจากรถที่เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็เริ่มมีอาการสึกหรอปรากฏให้เห็น นอกจากนั้น การตรวจสภาพรถยนต์ยังมีความจำเป็นเพราะเหตุผลต่อไปนี้อีกด้วย

 

  • เพื่อต่อภาษีรถยนต์

การต่อภาษีรถยนต์นับเป็นหน้าที่ที่ผู้มีรถทุกคนจำเป็นต้องทำทุกปี มิฉะนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย และสำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี การจะยื่นต่อภาษีรถยนต์ได้นั้น จำเป็นต้องผ่านการตรวจสภาพรถยนต์เสียก่อนจึงจะยื่นต่อได้

 

  • เพื่อความปลอดภัย

นอกจากในเรื่องทางกฎหมาย อย่างที่บอกไปแล้วว่าการตรวจสภาพรถยนต์ ก็เหมือนกับการนำรถไปตรวจสุขภาพ รถที่ผ่านการใช้งานมานานจะเริ่มมีการชำรุด หรือเสื่อมสภาพ ลองคิดดูหากเราใช้รถต่อไปทั้งที่อาจมีส่วนที่ชำรุดเสียหาย คงไม่ดีแน่ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถ เราจึงควรนำรถที่ผ่านการใช้งานมาหลายปีเข้าตรวจสภาพเป็นประจำทุกปี

 

  • ง่ายต่อการซื้อประกันรถยนต์

บริษัทประกันที่จะรับทำประกันให้กับรถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมานาน มักจะขอให้เจ้าของรถนำรถไปตรวจสภาพรถยนต์ก่อน เพื่อเอื้อให้เราทำประกันรถยนต์ได้ง่ายขึ้น

 

รถกี่ปีต้องตรวจสภาพ

แล้วอย่างนี้ รถกี่ปีถึงควรต้องนำไปตรวจสภาพกันล่ะ? ตามกฎของกระทรวงตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระบุว่า 

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป

สรุปง่าย ๆ ก็คือรถยนต์ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป นับตั้งแต่วันจดทะเบียนครั้งแรกถึงวันที่ครบการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี จะต้องนำไปตรวจสภาพรถยนต์ทุกปี โดยตรวจล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 3 เดือน ไปจนถึงวันก่อนสิ้นอายุภาษีรถยนต์

 

นำรถไปตรวจสภาพที่ไหนได้บ้าง

เราสามารถนำรถเข้าไปตรวจสภาพได้ใน 2 แห่ง ดังนี้

  • สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) หลายคนอาจจะเคยเห็นสัญลักษณ์ของที่นี่กันมาบ้างแล้ว เราสามารถนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่นี่ได้เลย ซึ่งข้อดีคือมีสาขาเยอะกว่ากรมขนส่งทางบก จึงไม่ต้องรอคิวนาน และสะดวกสบายกว่ามาก แต่ที่นี่จะคิดค่าบริการแพงกว่าที่กรมขนส่งทางบกเล็กน้อย โดยจะอยู่ที่ 200-300 บาทต่อครั้ง เมื่อตรวจเสร็จแล้ว ก็สามารถนำเอกสารไปยื่นต่อภาษีรถยนต์ได้ปกติ
  • กรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะมีสำนักงานประจำอยู่ในแต่ละจังหวัด เจ้าของรถสามารถเข้าไปติดต่อ เพื่อตรวจสภาพรถยนต์ในสำนักงานที่ใกล้ที่สุดได้ แต่จะมีสาขาน้อยกว่าตรอ. อีกทั้งคิวอาจจะรอนานกว่าสักหน่อย แต่คิดค่าบริการที่ถูกว่าคือ รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท ส่วนรถจักรยานยนต์อยู่ที่คันละ 60 บาท อย่างไรก็ตาม กรมการขนส่งทางบกจะรับตรวจสภาพรถที่ขาดการต่อภาษีมากกว่า 1 ปีขึ้นไป หรือรถที่ไม่สามารถไปตรวจที่ตรอ.ได้เนื่องจากต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียด นั่นคือ รถที่มีการดัดแปลงสภาพ ดัดแปลงสี มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ หรือเลขตัวถังหรือเลขเครื่องยนต์เลือนราง

 

ตรวจสภาพรถ ต้องเตรียมอะไรบ้าง

เมื่อเลือกได้แล้วว่าจะไปตรวจสภาพรถที่ไหนดี ต่อมาก็ต้องมาเตรียมความพร้อมกันให้เรียบร้อย สิ่งที่ต้องเตรียมไปตรวจสภาพด้วยได้แก่

  1. รถยนต์ที่ต้องการตรวจสภาพ ให้ขับคันที่ต้องการตรวจสอบไปยังตรอ.หรือกรมการขนส่งทางบกเพื่อรับการตรวจสภาพ
  2. ใบคู่มือหรือสมุดทะเบียนรถ ของรถยนต์คือเล่มสีฟ้า ส่วนเล่มสีเขียวเป็นของรถจักรยานยนต์ นำไปยื่นได้ทั้งฉบับจริงและสำเนา

หากตรวจสภาพแล้วรถของเราผ่านเกณฑ์ ทางสถานตรวจก็จะออกใบรับรองการตรวจสภาพมาให้เราเพื่อนำไปใช้ยื่นต่อภาษีหรือซื้อประกันรถยนต์ต่อไป แต่หากไม่ผ่าน เราก็ต้องนำรถกลับไปแก้ไขจุดบกพร่องให้เรียบร้อยแล้วนำมาตรวจใหม่

 

ตรวจสภาพรถ มีการตรวจอะไรบ้าง

สำหรับการตรวจสภาพรถจะมีการตรวจดังนี้

  • ความถูกต้องรถกับการจดทะเบียน ไม่ว่าจะหมายเลขทะเบียน หมายเลขตัวถัง รถมีการดัดแปลงผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้หรือไม่
  • สภาพตัวถังรถ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถว่ายังใช้งานได้อย่างดีและปลอดภัยหรือไม่ เช่น สี พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน ฯลฯ
  • ระบบบังคับเลี้ยว ระบบและประสิทธิภาพของเบรก ระบบเชื้อเพลิง ระบบรองรับน้ำหนัก  ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีหรือไม่
  • ตรวจระบบโคมไฟ วัดทิศทางของแสง วัดค่าความเข้มของแสง
  • ตรวจสอบวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ของรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • สำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล จะมีการตรวจวัดควันดำ โดยจะต้องมีระบบกระดาษกรองไม่เกินร้อยละ 50 และระบบวัดความทึบแสงต้องไม่เกิน 45%
  • สำหรับรถที่ใช้ระบบแก๊ส จะมีการตรวจสอบทั้งระบบว่ามีส่วนไหนรั่วไหลหรือไม่ ถังแก๊สจะต้องมีอายุไม่เกิน 10 ปี หากเกินจะมีการตรวจสอบต่อว่ายังใช้งานได้ปลอดภัยดีหรือไม่ หากผ่าน จะได้รับการรับรองให้ใช้งานต่อได้อีก 5 ปี
  • ตรวจวัดเสียงของเครื่องยนต์ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
  • สำหรับรถจักรยานยนต์ จะมีการตรวจสภาพโดยรวมของรถ ระบบเบรก ระบบไฟ ระบบแตร ค่าไอเสียมลพิษ

 

เมื่อตรวจสภาพรถเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถนำใบรับรองที่ได้มาต่อภาษี และ ต่อ พ.ร.บ. ซึ่งเป็นประกันรถภาคบังคับตามกฎหมาย รวมถึงสามารถนำไปยื่นซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจต่อได้ ถึงแม้จะไม่ได้บังคับแบบ พ.ร.บ. แต่ก็ควรมีไว้ เพราะเวลาเกิดเหตุอะไรขึ้นมา นอกจากความเสียหายของรถเราแล้ว หากเป็นฝ่ายผิด เราอาจจะต้องรับผิดชอบรถ ทรัพย์สิน หรือชีวิตของคู่กรณีด้วย หรือแม้จะเป็นฝ่ายถูก กรณีที่ต้องรับผิดชอบทรัพย์สินภายนอกที่เราไปทำความเสียหายเอาไว้ พอตีเป็นเงินแล้ว อาจจะมากเกินกว่าที่เราคนเดียวจะรับไหว ดังนั้นการมีประกันรถยนต์จึงมีประโยชน์ที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระเหล่านี้ลงไปได้เยอะ แต่อาจแตกต่างกันไปตามประเภทประกันรถแต่ละชั้นที่เราซื้อ วิธีต่อพ.ร.บ. รถยนต์

ปัจจุบันประกันรถยนต์ภาคสมัครใจแบ่งได้เป็น ประกันประเภท 1, 2+, 2, 3+ และ 3 แต่ละแบบจะได้รับความคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป คำถามที่ว่าเราควรจะเลือกซื้อประกันประเภทไหนดีนั้น ก็คงต้องกลับมามองที่ตัวรถของเรา และพฤติกรรมการใช้รถ หากเป็นรถใหม่ป้ายแดง และผู้ขับขี่ยังไม่มีความชำนาญมากนัก แนะนำให้เลือกเป็นประกันประเภท 1 ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุดไปเลย หรือหากขับได้อย่างชำนาญแล้ว ต้องการได้รับความคุ้มครองแต่ไม่อยากจ่ายเบี้ยแพง อาจจะดูเป็นประเภท 2+ หรือ 3+ แต่หากเป็นรถเก่า รถไม่ค่อยได้ใช้งาน อาจจะพิจารณาเป็นประเภท 2 หรือ 3 แทน นอกจากนั้นเราอาจได้รับบริการช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะประเภทไหน การมีประกันติดรถเอาไว้ช่วยให้อุ่นใจขึ้นเยอะ ทั้งตัวรถและตัวเรา

แนะนำอ่านต่อ: ต่อภาษีรถยนต์ต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมค่าใช้จ่ายที่ควรรู้

บทความที่คุณอาจสนใจ

ตอบชัด ! จ่ายประกันรถยนต์ช้าได้กี่วัน ยังสามารถเคลมได้ไหม
กฎหมายเช่าซื้อรถฉบับ 101: รู้ไว้ไม่เสียเปรียบ!
อายุรถยนต์เท่านี้ ทำประกันภัยรถยนต์แบบไหนดี ถึงจะเหมาะสมที่สุด?
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น