เข้าสู่ช่วงต้นปีเป็นช่วงที่ใครหลายคนมีการเริ่มวางแผนวางแผนการเงินสำหรับปี 2563 นี้ โดยสิ่งที่ไม่พูดถึงเลยไม่ได้คือเรื่องการยื่นภาษีสำหรับรายได้ในปี 2562 ที่ทุกคนที่มีรายได้ต้องยื่นภาษีเงินได้ แต่การยื่นภาษีปีนี้มีอะไรใหม่และแตกต่างจากเดิมหรือไม่นั้นวันนี้ gettgo จะมาอัปเดตเงื่อนไขยื่นภาษี พร้อมกับการลดหย่อนต่าง ๆ ที่ควรรู้กัน
ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี ?
ทุกคนที่มีรายได้ จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึงแม้จะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ต้องยื่นแบบภาษีประจำปี และโดยทั่วไปจะยื่นเพียงปีละ 1 ครั้ง แต่มีบางกรณีที่จะต้องยื่น 2 ครั้งที่เรียกว่าการยื่นภาษีครึ่งปี โดยจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณมีเงินได้ประเภทที่ 5, 6,7,8 รวมกันเกิน 60,000 บาทเท่านั้น โดยนับระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. เพื่อแสดงรายได้สะสมในช่วงปีที่ผ่านมา
โดยจะมีสูตรคำนวณคือ “เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิ” โดยที่ค่าใช้จ่ายจะเหมาจ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เมื่อคำนวณได้แล้วให้นำมาเทียบกับตารางอัตราภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งปีนี้ยังคงใช้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกับปี 2560
ดังนั้นการยื่นภาษีและเสียภาษีเป็นสิ่งที่ทุกคนที่ได้รับเงินได้จะต้องทำ และการยื่นภาษีไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ และระยะเวลาการทำงาน ต่อให้รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็ต้องยื่นจ่ายภาษี (เกณฑ์ขั้นต่ำอยู่ที่ 150,000 บาทต่อปี) แต่ไม่ต้องจ่ายภาษีเพราะไม่ถึงเกณฑ์ขึ้นต่ำที่กำหนด
ยื่นภาษีได้ที่ไหนและใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
การยื่นภาษีโดยใครที่มีรายได้จากเงินเดือนและโบนัส โดยไม่มีรายได้ประเภทอื่น ให้เตรียมหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) พร้อมเอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้ว ให้รีบยื่นแสดงภาษีให้เร็วที่สุด ซึ่งเปิดให้ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 63 – 30 มิถุนายน 63 โดยยื่นได้หลายช่องทาง ได้แก่
-
สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สำนักงานสรรพากรเขต/อำเภอ)
สำหรับการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ผู้มีเงินได้สามารถยื่นแบบฯ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง
-
ธนาคารพาณิชย์ และสาขาที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด สำหรับการยื่นแบบฯ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน เท่านั้น และมีภาษีที่ต้องชำระพร้อมกับการยื่นแบบฯ ดังนี้
-
ธนาคารพาณิชย์ (ยกเว้น บมจ.ธนาคารกรุงไทย) มีหลักเกณฑ์ดังนี้
-
ใช้แบบ ภ.ง.ด.90 หรือแบบ ภ.ง.ด.91 ฉบับที่พิมพ์ชื่อ ที่อยู่ ฯลฯ ที่ กรมสรรพากร จัดทำขึ้น และจัดส่งให้
-
มีเงินภาษีต้องชำระ พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือแบบ ภ.ง.ด.91
-
-
ธนาคารกรุงไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
-
มีเงินภาษีต้องชำระ โดยต้องชำระทั้งจำนวน
-
ไม่มีเงินภาษีต้องชำระ หรือขอคืนเงินภาษี
-
-
-
ที่ทำการไปรษณีย์ สำหรับการยื่นแบบฯ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 63 เท่านั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้
-
ผู้มีเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
-
ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน พร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค. หรือ ง.) หรือ ธนาณัติ (ตามจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระทั้งจำนวน)
-
กรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นวันรับแบบและชำระภาษี และจะส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ยื่นแบบฯ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน<
-
กรณีผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนา อยู่ในต่างจังหวัด หรือประสงค์จะขอ ชำระภาษีเป็นงวด จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนไม่ได้
-
-
Internet ทาง Web Site ของกรมสรรพากร ที่ www.rd.go.th โดยชำระภาษี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารพาณิชย์ หรือชำระผ่าน e-payment หรือโดยวิธีอื่น ได้แก่ ATM, Internet Banking, Tele-Banking, Mobile Banking, Counter Service (ของธนาคาร), เคาน์เตอร์เซอร์วิส และ Pay at Post (ไปรษณีย์)
หากทำงานฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มอาชีพอิสระ ต้องยื่นภาษีไหม ?
หากคุณทำงานฟรีแลนซื หรือเป็นอาชีพอิสระ ที่ไม่มีรายได้เป็นเงินเดือนที่แน่นอน คุณก็ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะถือว่ามีเงินได้ซึ่งเข้าเงื่อนไขที่ ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยตามกฎหมาย กลุ่มคนทำงานอิสระยังใช้เกณฑ์เดียวกับ มนุษย์เงินเดือน แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือรายได้ที่ผ่านมา จากช่องทางใดบ้าง และแต่ละแหล่งที่มามีจำนวนเท่าไร
โดยเงินได้ของกลุ่มอาชีพอิสระจะจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 2 เงินได้มาตรา 40 (2) ซึ่งหากเป็นมษุนย์เงินเดือนจะจัดอยู่ในประเภทที่ 1 เงินได้มาตรา 40(1) เงินที่ได้จากการจ้างงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เป็นต้น
ดังนั้นสิ่งสำคัญเมื่อได้เงินจากการทำงานแล้วอย่าลืมเก็บใบ ทวิ 50 หรือใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง เพื่อเอาไว้ยื่นภาษี (ต้องเป็นรายได้ที่เกิน 1,000 ขึ้นไป) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้ว่าจ้างจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โดยมี 2 รูปแบบคือ
-
หัก 3 % ของเงินที่จ่ายทุกครั้ง
-
คำนวณภาษีเงินได้จากรายได้สะสมที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง
ดังนั้นทำงานฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มอาชีพอิสระ ก็ต้องมีการยื่นภาษีและอย่าลืมขอ ใบทวิ 50 ทุกครั้งที่ได้รับเงินหลังจากการว่าจ้างด้วยนะครับ หลักจากที่ทราบเงื่อนไข หลักการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ในปีนี้ 2563 ที่จะต้องยื่นภาษีประจำปีภาษี 2562 ในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่น่าสนใจเกี่ยวกับการยื่นภาษีบ้าง
6 เรื่องอัปเดตการยื่นภาษี 2563 ที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม
-
มีการปรับขยายเวลาการยึดระยะเวลายื่นภาษีเงินได้ประจำปีภาษี 2562
โดยได้มีการขยายระยะเวลาการยื่นภาษีเงินได้ประจำปีภาษี 2562 (ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91) ออกไปอีก 3 เดือน จากเดิมที่ผู้เสียภาษีต้องยื่นเสียภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 63 – 31 มีนาคม 63 เป็น วันที่ 1 มกราคม 63 – 30 มิถุนายน 63 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้ผู้เสียภาษีมีเงินใช้จ่ายในช่วงต้นปีมากขึ้น
-
ด้านมาตราการการท่องเที่ยว
มีการปรับให้บริษัท (สำหรับริษัทหรือห้างร้านที่เป็นนิติบุคคล) จัดสัมนาต่างจังหวัดสามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
สามารถนำค่ารีโนเวทสถานที่ท่องเที่ยว และที่พัก ของเรามาลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า ของจำนวนที่เราจ่ายจริง
-
โครงการ ชิม ช้อป ใช้ เฟส 4
โดยโครงการ ชิม ช้อป ใช้ เฟส 4 ของกระทรวงการคลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนออกแบบและประเมินผล เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมากที่สุด โดยสำหรับผู้เสียภาษีที่เคยลงทะเบียนชิม ช้อป ใช้ แล้วไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ และสามารถใช้โครงการ ชิม ช้อป ใช้ เฟส 4 ได้เช่นกัน และยังมีการเปิดรับประชาชนลงทะเบียนเพิ่มเติมอีกด้วย
-
มีการจัดตั้งกองทุนใหม่ชื่อ SSF แทน LTF
การปรับเปลี่ยนกองทุนใหม่เป็น SSF หรือกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saveing Fund) สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 30 % ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท สามารถถือหน่วยลงทุนได้ 10 ปีและสามารถขายคืนได้เมื่อถือหน่วยลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี โดยไม่การกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี และสามารถซื้อได้ 5 ปี (ปี 2563 - ปี 2567) โดยหลังจากนั้นการคลังจะพิจารณาอีกที และกำไรจากการขายหน่วยการลงทุนคืนจะได้รับการยกเว้นภาษี
-
กองทุน LTF ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้นับตั้งแต่ปีภาษี 2563 เป็นต้นไป
หลังจากมีการปรับเปลี่ยนกองทุนใหม่จาก LTF เป็น SSF การลงทุนในกองทุน LTF จะสิ้นสุดการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 2562 แต่นักลงทุนยังสามารถซื้อหน่วยการลงทุนในกองทุนดังกล่าวต่อไปได้ แต่จะไม่ได้รับการลดหย่อนภาษีสำหรับเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
-
มีการปรับเกณฑ์กองทุน RMF และไม่มีขึ้นต่ำในการซื้อกองทุน
มีการปรับเกณฑ์กองทุน RMF โดยมีการเพิ่มเพดานการลดหย่อนภาษีสูงสุดจากเดิม 15% ไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นลดหย่อนภาษีสูงสุด 30 % ของเงินพึ่งประเมินแต่ไม่เกิน 5 แสนบาท และมีการยกเลิกขึ้นต่ำในการซื้อ แต่เดิมขึ้นต่ำในการซื้อกองทุน RMF อยู่ที่ 3 % ของเงินได้ หรือ 5,000 บาทต่อปี (แล้วแต่จำนวนใดต่ำกว่า) ปรับเป็นไม่มีขึ้นต่ำในการซื้อ ส่วนเงื่อนไขอื่นยังคงเดิม
ที่มา : krungsri กรุงเทพธุรกิจ iTaxmedia hoonsmart กรมสรรพากร