ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

มาตรการนำของเหลวขึ้นเครื่องบิน และการเตรียมตัวที่ถูกต้อง

มาตรการนำของเหลวขึ้นเครื่อง

 

การขึ้นเครื่องบิน เป็นการเดินทางที่สะดวกสบายและรวดเร็ว แต่ก็มีกฎระเบียบหลายอย่างที่ผู้เดินทางต้องปฏิบัติตาม หนึ่งในกฎระเบียบที่สำคัญที่สุดคือ ข้อจำกัดในการนำของเหลวขึ้นเครื่อง เพื่อป้องกันการก่อการร้ายและภัยคุกคามอื่น ๆ สำหรับสายเที่ยวมือใหม่หรือคนขึ้นเครื่องบินครั้งแรก ไปดูกันว่ามีมาตรการกำหนดให้นำของเหลวขึ้นเครื่องได้เท่าไหร่ และควรเตรียมตัวอย่างไร รวบรวมคำตอบมาให้ทุกคนในบทความนี้แล้ว

มาตรการนำของเหลวขึ้นเครื่องบินคืออะไร

รู้จักมาตรการด้านความปลอดภัยของ ICAO ด้านการนำของเหลวขึ้นเครื่อง

ในปัจจุบัน มาตรการด้านความปลอดภัยในการเดินทางทางอากาศ มีความเข้มงวดมากขึ้น เพื่อป้องกันการลักลอบนำวัตถุอันตรายขึ้นเครื่องบิน ซึ่งหนึ่งในสิ่งของที่ห้ามนำขึ้นเครื่องคือ ของเหลว สเปรย์ และเจล เนื่องจากสามารถนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการทำระเบิดได้ ตามมาตรฐานสากลขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ International Civil Aviation Organization (ICAO) ระบุให้ผู้โดยสารสามารถพกพาของเหลวขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 100 มิลลิลิตรต่อชิ้น และต้องบรรจุไว้ในถุงพลาสติกใสแบบเปิด-ปิดผนึกได้ และรวมทุกชิ้นแล้วต้องไม่เกิน 1 ลิตรต่อผู้โดยสารหนึ่งท่าน

ประเภทของของเหลวขึ้นเครื่องบิน

ประเภทของเหลวที่สามารถขึ้นเครื่องบิน หรือ LAGs (Liquids, Aerosols and Gels) สำหรับนำขึ้นห้องโดยสาร สามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้

  • อาหารที่มีของเหลวเป็นองค์ประกอบ เช่น ซุป น้ำ เครื่องดื่ม น้ำเชื่อม แยม สตู (Stew) น้ำพริก ซอส หรืออาหารอย่างอื่นที่อยู่ในซอส
  • เครื่องสำอาง เช่น ครีม โลชัน น้ำหอม น้ำมัน
  • สิ่งของที่เป็นเจล เช่น ยาสีฟัน ยาสระผม เจลอาบน้ำ วัตถุที่ต้องฉีดพ่น เช่น สเปรย์ โฟม
  • สิ่งของที่ส่วนผสมเป็นทั้งของแข็งและของเหลว เช่น ลิปสติกชนิดน้ำ ลิปกลอส มาสคารา

 

การเตรียมตัวก่อนนำของเหลวขึ้นเครื่อง

 

การเตรียมตัวก่อนนำของเหลวขึ้นเครื่อง

  • ปริมาตรของเหลวต้องไม่เกิน 100 มิลลิลิตร และควรมีข้อความระบุปริมาตรบนบรรจุภัณฑ์ชัดเจน
  • ปริมาตรรวมสูงสุดของเหลวไม่เกินคนละ 1,000 มิลลิลิตร หรือ 1 ลิตร จึงหมายความว่าสามารถนำขึ้นเครื่องบินไปได้มากกว่า 1 ชิ้น แต่รวมแล้วไม่เกิน 1 ลิตรนั่นเอง
  • บรรจุของเหลวอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิท โดยการแบ่งเป็นขวดเล็ก ถุงซิปล็อก หรือถุงใสแบบเปิด-ปิดผนึกได้ เพื่อป้องกันของเหลวหกเลอะเทอะระหว่างการเดินทาง

นอกจากปริมาณของเหลวที่ต้องระวังในการนำขึ้นเครื่องบินแล้ว ขอแถมข้อมูลอีกหนึ่งสัมภาระที่ต้องระวังเรื่องปริมาณความจุ คือ พาวเวอร์แบงก์ หรือแบตเตอรี่สำรอง ต้องจัดใส่อยู่ในสัมภาระสำหรับการขึ้นเครื่องเท่านั้น โดยแต่ละชิ้นต้องมีความจุไม่เกิน 20,000 มิลลิแอมป์ และรวมกัน 2 ชิ้น ต้องมีความจุไม่เกิน 32,000 มิลลิแอมป์

สิ่งของที่ได้รับยกเว้นโดยไม่ต้องตรวจปริมาตร สามารถถือขึ้นเครื่องได้เลย

  • ยาสามัญประจำบ้าน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ยาที่จำเป็นสำหรับการเดินทาง โดยต้องมีใบรับรองแพทย์ ฉลาก เอกสารกำกับยาที่ระบุชื่อผู้โดยสาร
  • อาหารที่ต้องพกพาตามข้อกำหนดทางการแพทย์ หรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางโภชนาการ
  • อาหารสำหรับทารกในรูปแบบของเหลวหรือของเหลวแบบข้น หรือน้ำนมแม่ที่บรรจุในถุงน้ำนม (ไม่จำเป็นต้องเดินทางพร้อมกับทารก)
  • เครื่องสำอางที่ไม่ใช่ของเหลว เช่น ลิปสติกแบบแท่ง แป้งรองพื้น และผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายแบบแท่ง
  • สิ่งของประเภทของเหลว เจล สเปรย์ หรือสินค้าต่าง ๆ ที่ซื้อจากร้านค้าปลอดภาษีหลังผ่านจุดตรวจค้นเพื่อรักษาความปลอดภัยแล้ว

นอกจากนี้ ผู้โดยสารควรตรวจสอบข้อยกเว้นสำหรับบางเส้นทางให้ดีก่อนเดินทาง เช่น ประเทศออสเตรเลีย ที่อนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถนำวัสดุผงที่ไม่ใช่วัสดุออร์แกนิก เช่น เกลือ ทราย แป้งทัลคัม และผลิตภัณฑ์แต่งหน้าชนิดอื่น ๆ ขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 12 ออนซ์ (350 มล.) หรือประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อนุญาตให้ผู้โดยสารนำวัสดุผง เช่น แป้ง น้ำตาล ผงกาแฟ เครื่องเทศ ขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 12 ออนซ์ (350 มล.) 

หากปฏิบัติตามการเตรียมตัวดังกล่าว ผู้โดยสารมือใหม่ก็จะสามารถนำของเหลวขึ้นเครื่องบินได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ แล้วอย่าลืมมาเพิ่มความอุ่นใจให้ทุกการเดินทาง ด้วยการซื้อประกันการเดินทางต่างประเทศออนไลน์ ที่สามารถเลือกซื้อในราคาที่ใช่ ได้ความคุ้มครองคุ้มค่าที่ gettgo ไม่ว่าจะไปประเทศไหน เมืองไหน ก็หาประกันเดินทางต่างประเทศที่ตอบโจทย์ได้ง่าย ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-111-7800 หรือ LINE OA : @gettgo

ซื้อประกันเดินทางต่างประเทศ

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. มาตรการเรื่องของเหลวและการตรวจค้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566 จาก https://www.airportthai.co.th/th/มาตรการเรื่องของเหลวแล/
  2. การนำของเหลว สเปรย์ เจล และวัสดุผงขึ้นเครื่องบิน. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566 จาก https://www.cathaypacific.com/cx/th_TH/baggage/controlled-and-banned-items/liquids-aerosols-and-gels.html 
  3. การนำของเหลวขึ้นเครื่องบิน. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/foreign/2691184 

บทความที่คุณอาจสนใจ

กฎหมายเช่าซื้อรถฉบับ 101: รู้ไว้ไม่เสียเปรียบ!
ทำไมแผ่นกรองอากาศรถยนต์ถึงสำคัญ และควรเปลี่ยนเมื่อไร
ทะเบียนรถหาย ทำยังไงดี ? รวมขั้นตอนขอใหม่และเอกสารที่ต้องใช้
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น