ย้อนกลับไปเมื่อ 10-20 ปีก่อน เซฟโซนของคนเก็บเงินนอกจากตู้เซฟแล้วก็คงจะเป็นธนาคารนี่ล่ะนะที่วางใจฝากเงินได้ แต่ยุคนี้อะไรก็เปลี่ยนไป แฮกเกอร์ครองเมือง อย่างข่าวล่าสุดที่โดนดูดเงินในบัญชีธนาคารไปแล้วกว่า 4 หมื่นรายแบบงง ๆ ครั้งละ 30-40 บาท ทั้งผูกบัตรและไม่ผูกบัตรเลยด้วย ฝากเงินที่ได้แค่ดอกเบี้ยยังจะมาโกงกันอีก ใครที่อยากได้มากกว่าการฝากเงิน และยังได้ความคุ้มครองชีวิตด้วย จะหันไปซบอกประกันสะสมทรัพย์ก็ยังไม่สายนะ
“ธนาคาร ยังเป็น เซฟโซน” ของเราได้อยู่มั้ย ?
คำตอบนี้บอกเลยว่า มันไม่มีคำตอบเคลียร์คัตเพียงคำตอบเดียว เพราะในเงิน 100% ของเราที่ได้มาในแต่ละเดือนเนี่ย ก่อนที่จะตัดสินใจว่า “มันควรจะอยู่ตรงไหน” เราต้องรู้ก่อนว่าแต่ละส่วนจะแบ่งไว้ทำอะไร และเราเลือกวิธีที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุดเท่าที่หาได้ในตอนนั้นเป็นดีที่สุด
20 / 30 / 50
กฏทองของการแบ่งเงินใช้ ที่พูดกันมาช้านาน เรามาย้ำกันอีกครั้ง แบ่งเป็นหลัก ๆ 3 ก้อน จากน้อยไปมาให้ดูกัน
20% = ออม ลงทุน กองทุนฉุกเฉิน
ด้วยความที่เงินก้อนนี้ ต้องเป็น เงินเย็น คือ เงินที่ไม่ได้ใช้รายวัน ใช้ในระยะสั้นวันนี้พรุ่งนี้ นั่นหมายความว่า สามารถเก็บในที่ที่ ไม่ต้องเข้าถึงได้ง่าย ถอนง่าย และเป็นปัญหาความปลอดภัย อย่างบัญชีออมทรัพย์ออนไลน์ก็ได้ ทางเลือก ก็แล้วแต่ตามความเสี่ยงที่รับได้ และระยะเวลาที่อาจจะจำเป็นต้องใช้เงิน
ถ้าจะใช้เงินก้อนอีก 3 ปี อาจมองเป็น ฝากประจำ 3 ปี หรือ สลากออมทรัพย์ ของธนาคารต่าง ๆ ที่เปิดรับอยู่ หรือกองทุนหุ้น หากเป็นคนชอบเสี่ยงมากหวังกำไรเยอะ ดูย้อนหลังแล้ว ไม่ต้องถือนาน แต่กราฟพุ่ง ก็เก็บในช่องทางนี้ได้ ส่วนคนไม่กล้าเสี่ยง ไม่เล่นของสูง กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ไม่เกิน 1 ปี ก็ได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ 2-5% มีทั้งตราสารหนี้ภาคเอกชน ตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือเงินฝากในต่างประเทศ ข้อดีคือมีสภาพคล่องใกล้เคียงกับฝากเงินในธนาคาร ขายวันนี้ ได้เงินคืนวันถัดไป (T+1)
หรือจะทางเลือกสุดท้าย ประกันสะสมทรัพย์ - มีให้เลือกว่าอยากออมสั้น หรือออมยาว ลดหย่อนภาษีก็ได้ พิเศษกว่าแบบอื่นตรงที่คุ้มครองชีวิตได้อีกด้วย ปลอดภัยกว่าฝากธนาคารแน่นอน
30% = เปย์ตัวเอง
ส่วนนี้เพื่อความสุข ไว้เปย์ตัวเอง ไปเที่ยว ช้อปปิ้ง โบท็อกซ์ อะไรก็ว่าไป ในส่วนนี้ หากในช่วงนี้ไม่อยากเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ ก็ทำได้หลายอย่าง ถ้าของที่อยากได้ ซื้อได้เลยด้วยเงินในเดือนนั้น ๆ ก็ซื้อเงินสดไปเลย ไม่ต้องใช้บัตรเครดิต จะได้ไม่ต้องเก็บเงินสดเอาไว้ล่อตาล่อใจ hacker ส่วนการเก็บเงินซื้อของก้อนใหญ่หน่อย อย่างซื้อรถ ซื้อของแบรนด์เนม เพชรพลอย อาจจะต้องเก็บกัน 2-3 เดือนขึ้นไป ก็วนกลับไปช่องทางด้านบนเลย ว่าอันไหนเหมาะกับเรา
50%
ก้อนใหญ่ ก้อนสุดท้าย ทำใจ ยังไงก็ต้องเก็บเป็นเงินสด ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นรายเดือน รายวัน ค่ากิน ค่าอยู่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบัตรเครดิต ค่าหนี้สินต่าง ๆ ในเดือนนั้น ๆ เพราะฉะนั้น ไม่เก็บไว้ในธนาคาร ก็กดเงินสดมาไว้ที่บ้าน ดูกันตามความสมัครใจ ความปลอดภัยของแต่ละคน ในช่วงนี้เรายังไม่รู้แน่นอนว่าธนาคารต่าง ๆ ที่โดน hack จะมีมาตรการเด็ดขาดเพื่อไม่ให้คนกังวลใจได้อย่างไร
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของทางเลือกให้ทุกคนเท่านั้นนะ ถ้าใครรู้สึกว่าธนาคารไม่ปลอดภัย กลัวโดนดูดเงินแบบในข่าว ก็ยังมีช้อยส์อื่นให้เราเลือกเก็บเงินกันได้อีกหลายช่องทาง ลองดูว่าไลฟ์สไตล์เหมาะกับการเก็บเงินแบบไหน ก็เลือกได้เลย