“เราจะรอดจากปี 2020 ไปได้ยังไง…?”
คำถามจี้ใจคนยุค 2020 ปีที่เลขสวย แต่ดันไม่สวยเหมือนรูป ผ่านไปเพียงครึ่งปีน้ำตามันจะไหลเสียให้ได้ ก็ทำไมน้า… มันถึงมีแต่เรื่อง เจ้าโควิดวายร้าย ที่ไม่ได้ร้ายกับเราแค่เรื่องสุขภาพ แต่ยังพาลร้ายกับเงินในกระเป๋าสตางค์เราอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจขาลง ข้าวยากหมากแพง คนถูกเลิกจ้างงาน และหลาย ๆ สิ่งที่ทำให้เสาเอกความมั่นคงทางการเงินของเราเริ่มสั่นคลอน…
แต่กระนั้น เมื่อคนเราต้องเอาทางรอด และทางรอดของปีนี้ ผมบอกเลยว่ามันต้องมีอะไรที่มากกว่าการสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์อย่างแน่นอน เพราะอะไร? ก็เพราะทุกอย่างในวันนี้ยังต้องใช้เงินซื้อ และเราจะมีเงินซื้อก็ต่อเมื่อเราเก็บเงิน และเราจะเก็บเงินได้มาก ๆ ถ้าเราหาวิธี “โตเงินให้เป็น”
แล้วแบบไหนล่ะที่เรียกว่า “โตเงินให้เป็น” ?
ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่า ในยุคนี้ตลาดทุน หรือตลาดหุ้นในประเทศมันช่างผันผวนเสียเหลือเกิน ทางรอดที่ดีในเวลานี้ เราจึงต้องเน้นทางรอดของการออมเงินและลงทุนที่คุ้มครองเงินต้นเท่านั้นนะครับ เพราะผมเองก็ยังไม่กล้าที่จะลงทุนอะไรที่เสี่ยง ๆ ในเวลานี้ เพราะฉะนั้นสุดท้ายมันเลยลงเอยที่ “การออมเงิน” ที่ให้ผลตอบแทนสูง อย่างน้อยก็ต้องมากกว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี เพราะอย่างน้อย เงิน 100 บาทในวันนี้ ผ่านไปในอนาคต ก็ควรจะมีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับเงิน 100 บาท ไม่เช่นนั้น เราก็จะใช้ชีวิตแบบถอยหลังลงคลอง เงินมีมูลค่าถดถอยลงไปเรื่อย ๆ นั่นเอง
อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ ?
เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ปี 2562 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 0.71% ในขณะที่ปี 2561 อยู่ที่ 1.71% เพราะฉะนั้น การออมเงินอะไรที่ทำให้เงินงอกเงยมามากกว่า 0.5-2% ต่อปีได้ ก็ถือว่าคุ้มค่าหมด
แล้วการออมเงินที่เรียกว่า “โตเงินให้เป็น” มีอะไรบ้าง ?
1. #โตเงินให้เป็น วิธี 1: ฝากประจำ
แน่นอนครับว่า พูดถึงการออมเงิน ทางเลือกแรก ๆ คือ การฝากประจำ มีทั้งฝากแบบปลอดภาษีที่ 1 คนฝากได้บัญชีเดียว และฝากประจำปกติ มีทั้งระยะสั้น และระยะยาวให้เลือกสรรค์มากมาย ซึ่งในยุคที่เศรษฐกิจดี ๆ อัตราดอกเบี้ยต่อปีมีให้เลือกช้อปปิ้งกันแตะ 3% กันเลยทีเดียว แต่สำหรับในยุคนี้ ปี 2020 สุดหฤโหด เจ้าไหนให้เกิน 2 ก็ถือว่าหรูแล้วครับ
ทางรอดนี้เหมาะกับ
- คนที่ไม่อยากทิ้งเงินไว้นานมาก ระยะเวลาฝาก 3 เดือน ถึง 36 เดือน
- คนที่มีแผนการใช้เงินก้อนนี้ในระยะ 3-5 ปี
- คนที่ไม่ได้หวังผลตอบแทนมาก แค่มากกว่าเงินเฟ้อก็พอใจแล้ว
- คนที่ต้องการความมั่นคงสูง เช็คยอดเงินออมได้ทุกเวลา เงินต้นไม่หาย
2. #โตเงินให้เป็น วิธีที่ 2: ประกันสะสมทรัพย์
มาต่อกันที่วิธีที่ 2 พอดีผมไปเจอโปรดักท์ตัวนึงมาครับ ประกันสะสมทรัพย์ 10/1 จากเมืองไทยประกันชีวิต โปรดักท์ตัวนี้ ชำระเบี้ยครั้งเดียว อยู่ไปยาว ๆ 10 ปี แถมได้ความคุ้มครองชีวิตร่วมด้วย กล่าวคือ หากเสียชีวิตในช่วง 10 ปีที่อยู่ในสัญญา จะได้ความคุ้มครองไปด้วย และอยู่ครบ 10 ปี จะได้ผลตอบแทนเพิ่มเติมเป็นแรงจูงใจให้คนอยากหนีความจริงของอัตราเงินเฟ้อ (แบบผมคนนึงแหละ) อย่างไรก็ตาม ผมเอง ด้วยความที่ต้องเทียบก่อนสมัครเสมอ เลยไปกว้านมาทั้งตลาด มาดูว่า ประกันสะสมทรัพย์แบบ 10/1 ยี่ห้อไหน แบรนด์ไหน ได้ผลตอบแทนดีที่สุด สรุปของเมืองไทยประกันชีวิต ดูจะมีภาษีดีกว่าเจ้าอื่น เพราะเขาเอาเงินเราไปลงทุนต่อในกองทุนต่างประเทศครับ ซึ่งผลตอบแทนเมื่ออยู่ครบสัญญา 10 ปี ก็ออกมาตามรูปในภาพเลยครับ รวมๆ แล้ว อยู่ครบ 10 ปีได้มากว่า 30+% ตกปีละ 3% กว่า ๆ เลยทีเดียว เอาเป็นว่า ไม่พูดเยอะ เจ็บคอ มาดูภาพให้เห็นชัด ๆ กันครับ
ทางรอดนี้เหมาะกับ
- คนที่มีเงินเย็นที่ทิ้งไว้แบบไม่มอง ไม่มีแผนใช้ในระยะ 10 ปีขึ้นไป
- คนที่อยากวางแผนเงินมรดกให้คนข้างหลัง
- คนที่หวังผลตอบแทนมากขึ้นมากว่าวิธีแรกประมาณ 3% ต่อปีขึ้นไป
- คนที่หวังประโยชน์ด้านลดหย่อนภาษี เพราะลดภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
สุดท้ายนี้ การออมเงิน การลงทุน สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับนิสัย ความชอบ และสไตล์ของแต่ละคนนะครับ ก่อนสมัครก็ศึกษาเพิ่มเติมให้ดี เพราะเงินเราไม่ใช่บาทสองบาท เอาเป็นว่า ผมก็ขอให้ทุกคนอยู่รอดปลอดภัยในปี 2020 นี้ทั้งสุขภาพและการเงิน ส่วนผมขอไปสมัครประกันสะสมทรัพย์ 10/1 ของเมืองไทยประกันชีวิตก่อนนะครับ สวัสดี