ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

สรุปชัด เอกสารในการทำพาสปอร์ตปี 2567 ต้องมีอะไรบ้าง

การประทับตราในหนังสือเดินทาง

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ เริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง รวมถึงมีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่าง ฟรีวีซ่า จึงถึงเวลาแล้วที่เราจะหยิบพาสปอร์ตออกมาปัดฝุ่นกันสักที และเตรียมตัวออกเดินทางไปต่างประเทศกัน แต่ก่อนไปอย่าลืมเช็กดูให้ดีว่าพาสปอร์ตของเรายังมีอายุการใช้งานอยู่หรือไม่ ต้องทำพาสปอร์ตใหม่หรือเปล่า เพราะหลังจากที่การเดินทางระหว่างประเทศหยุดชะงักไปพักใหญ่ มาคราวนี้ประเทศไทยมีการอัปเดตขั้นตอนการต่อพาสปอร์ตใหม่แล้ว ต่างจากแต่เดิมที่หลายคนเคยมีประสบการณ์การต่อพาสปอร์ตแต่ละทีนั้นยุ่งยาก ต้องรอคิวตั้งนานกว่าจะเสร็จ แต่ขอบอกเลยว่าขั้นตอนการทำพาสปอร์ตฉบับปี 2567 นั้นสะดวก รวดเร็ว และง่ายกว่าเดิม

ประเภทของหนังสือเดินทาง

1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic Passport) เล่ม D หน้าปกสีแดงสด

ประเภทหนังสือเดินทางที่มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคล เช่น พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต เป็นต้น โดยจะมีอายุสามารถใช้ได้ไม่เกิน 5 ปี

2. หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) เล่ม F หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม

หนังสือเดินทางที่มีไว้สำหรับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ หรือสมาชิกรัฐสภา เป็นต้น มีอายุไม่เกิน 5 ปี จะใช้เฉพาะในทางราชการเท่านั้น

3. หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หน้าปกสีเขียว

หนังสือเดินทางที่ออกให้สำหรับพระภิกษุสามเณร ชาวมุสลิมที่ต้องการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ มีอายุไม่เกิน 1-2 ปี

4. หนังสือเดินทางธรรมดา (Ordinary Passport) เล่ม Y หน้าปกสีน้ำตาล

ประเภทหนังสือเดินทางที่มีไว้สำหรับประชาชนทั่วไป ปัจจุบันมีทั้งแบบอายุ 5 ปี และ 10 ปี หากหมดอายุแล้วต้องไปทำเล่มใหม่ นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมเราถึงต้องไปต่อพาสปอร์ตกันอยู่เรื่อย ๆ

นอกจากประเภทข้างต้นแล้ว เอกสารสำคัญประจำตัวเพื่อใช้แทนหนังสือเดินทาง (Certificate of Identity: C.I.) กรณีพาสปอร์ตหมดอายุหรือสูญหายกะทันหัน ก็นับเป็นหนังสือเดินทางเช่นเดียวกัน

 

ประกันเดินทางต่างประเทศ


ทำพาสปอร์ตใช้อะไรบ้าง ปี 2567

หากต้องการจะทำพาสปอร์ตใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเล่มแรก หรือเล่มเก่าหมดอายุ เราสามารถเดินทางไปทำได้ที่

- กรมการกงสุล
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวทั่วประเทศ
- สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย

โดยเราสามารถ Walk-in ได้ตามสถานที่ข้างต้นได้เลย หรือบางแห่งอาจมีผู้มาใช้บริการเยอะ ก็สามารถจองคิวผ่านระบบออนไลน์ได้เหมือนกัน นอกจากนี้ ก่อนที่เราจะไปทำพาสปอร์ตทุกครั้ง จะต้องเตรียมเอกสารทำพาสปอร์ตให้พร้อม เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา โดยแบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้

กรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์

เอกสารทำพาสปอร์ต 2567 ที่ต้องเตรียมมีดังนี้

- บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้เยาว์ที่ยังไม่หมดอายุ
- หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน (ถ้ามี)
- สูติบัตรฉบับจริง (กรณีผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์)
- บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดาและมารดา หรือผู้ปกครอง (หากเป็นชาวต่างชาติ ให้ใช้หนังสือเดินทางฉบับจริงของบิดาหรือมารดา แล้วแต่กรณี)
- กรณีจดทะเบียนสมรส ให้นำทะเบียนสมรสของบิดามารดามาด้วย
- กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส ให้นำใบปกครองบุตร หรือ ป.ค.14 มาแสดงด้วย
- กรณีหย่า ให้นำใบหย่าของบิดามารดา ใบปกครองบุตรหรือ ป.ค.14 หรือบันทึกการหย่าที่ระบุผู้มีอำนาจในการปกครองบุตรมาแสดงด้วย
- บิดาและมารดา หรือผู้ปกครอง จะต้องมาแสดงตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย (กรณีบิดาและมารดา หรือผู้ปกครองไม่สามารถมาแสดงตัวได้ จะต้องนำ หนังสือยินยอมของบิดาหรือมารดา หรือผู้ปกครอง ที่รับรองจากเขตหรืออำเภอ ที่ระบุการอนุญาตให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศมาด้วย)
- เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น

กรณีบุคคลบรรลุนิติภาวะ อายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์

เอกสารในการทำพาสปอร์ต 2567 ที่ต้องเตรียมมีดังนี้

- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
- หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน (ถ้ามี)
- ในกรณีเปลี่ยนชื่อ-สกุล หรือวันเดือนปีเกิด หรือข้อมูลอื่นใดที่ไม่ตรงกับบัตรประชาชน ต้องนำหลักฐานตัวจริงมาแสดงด้วย

กรณีหนังสือเดินทางทั่วไป ที่ออกให้แก่พระภิกษุ สามเณร

เอกสารในการทำพาสปอร์ต 2567 ที่ต้องเตรียมมีดังนี้

- ใบสุทธิพระภิกษุสามเณร
- สำเนาทะเบียนบ้าน/วัด
- สําเนาใบตราตั้ง กรณีประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง
- เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ ตามระเบียบมหาเถรสมาคม พ.ศ. 2537

และเมื่อถึงเวลาต้องรับพาสปอร์ตที่เสร็จแล้ว มีการรับได้ 3 กรณี

  1. กรณีที่ไปรับด้วยตัวเอง จะต้องนำใบรับเล่มหนังสือเดินทางฉบับจริง กับบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงไปด้วย
  2. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปรับ จะต้องนำใบรับเล่มหนังสือเดินทางฉบับจริงซึ่งระบุการมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจพร้อมลงนามรับรองเอกสาร บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้รับมอบอำนาจไปยื่นด้วย
  3. กรณีขอรับทางไปรษณีย์ ไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรแล้ว เพียงแค่รอมาส่งตามที่อยู่ที่แจ้งไว้เท่านั้น

 

หนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ต


วิธีลงทะเบียนต่อพาสปอร์ตล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ปี 2567

การต่อพาสปอร์ตในปี 2567 นับว่าสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยที่เราสามารถเข้าไปจองคิวล่วงหน้าได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ https://www.qpassport.in.th ซึ่งมีวิธีการลงทะเบียนง่าย ๆ ดังนี้

  1. เข้าสู่ระบบ หรือสมัครสมาชิกใหม่เพื่อกรอกรายละเอียดส่วนตัว
  2. เลือกพื้นที่เพื่อเข้ารับบริการทำพาสปอร์ต โดยมีให้เลือกว่าจะทำในประเทศไทย หรือต่างประเทศ
  3. เลือกประเภทการเข้ารับการทำพาสปอร์ตว่า ไปทำเพื่อตัวเอง หรือสำหรับครอบครัวและผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
  4. เลือกสถานที่ทำหนังสือเดินทาง ต่ออายุพาสปอร์ต
  5. เลือกวันที่ต้องการเข้าไปทำหนังสือเดินทาง โดยเราสามารถจองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 30 วัน
  6. เลือกเวลาที่ต้องการเข้าไปทำหนังสือเดินทาง
  7. เลือกวิธีรับพาสปอร์ตว่าจะไปรับด้วยตนเอง หรือให้ทางสถานที่ทำพาสปอร์ตส่งไปรษณีย์มาให้ภายใน 5 วันทำการ
  8. สามารถเข้าไปยังสถานที่ทำพาสปอร์ตที่เราเลือกเอาไว้ตามวันและเวลาที่จองได้เลย รวมถึงเตรียมเอกสารไปให้เรียบร้อย

อัตราค่าธรรมเนียมในการทำพาสปอร์ต

ค่าธรรมเนียมในการทำหนังสือเดินทางจะแบ่งราคาตามความเร่งด่วน และอายุของหนังสือเดินทาง ดังนี้

1. กรณีออกหนังสือเดินทางแบบธรรมดา 
สามารถเดินทางมารับด้วยตัวเอง หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ภายใน 2-3 วันทำการสำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล และภายใน 5 วันทำการสำหรับต่างจังหวัด

- พาสปอร์ตแบบอายุ 5 ปี 1,000 บาท
- พาสปอร์ตแบบอายุ 10 ปี 1,500 บาท

2. กรณีออกหนังสือเดินทางแบบเร่งด่วน
สามารถเข้าไปรับบัตรคิวด้วยตัวเองและทำก่อนเวลา 11:00 น. ซึ่งจะได้รับเล่มพาสปอร์ตภายในวันนั้น

- พาสปอร์ตแบบอายุ 5 ปี 3,000 บาท
- พาสปอร์ตแบบอายุ 10 ปี 3,500 บาท

3. กรณีส่งทางไปรษณีย์

- ชำระค่าไปรษณีย์ EMS 40 บาท ได้ที่เคาน์เตอร์บริการ

ทำพาสปอร์ต 2567 ต้องรอกี่วัน?

สำหรับข้อสงสัยที่ว่าทำพาสปอร์ตกี่วันได้ ในปี 2567 สามารถแบ่งออกได้ใน 2 กรณี

1. พาสปอร์ตทั่วไป

- พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รอจัดส่งทางไปรษณีย์ 3-5 วันทำการ

- ต่างจังหวัดรอจัดส่งทางไปรษณีย์ 5-7 วันทำการ

2. พาสปอร์ตด่วนพิเศษ 

- รอภายใน 1 วัน

ประกันเดินทางต่างประเทศ


สถานที่ทำพาสปอร์ตทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

1. กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ

วันและเวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) เวลา 08.30-16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00 น.)

ที่อยู่ : 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

Google Map: https://goo.gl/maps/6SE2G5gAPdRbiEw57

โทรศัพท์ : 02 203 5000 กด 1 เพื่อติดต่อกรมการกงสุล

 

2. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา-ศรีนครินทร์

วันและเวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) เวลา 08.30-16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00 น.)

ที่อยู่ : ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ ชั้น 1 โซน C

Google Map: https://goo.gl/maps/8DjbvYpdMvLkdhPQ8

โทรศัพท์ : 02 136 3800, 02 136 3802 และ 093 010 5246

 

3. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว MRT คลองเตย

วันและเวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) เวลา 08.30-16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00 น.)

ที่อยู่ : สถานีรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) คลองเตย ถนนพระราม 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม. 10110

Google Map: https://goo.gl/maps/buwH6GxJdA3gS55B9

โทรศัพท์ : 02 024 8896, 093 010 5247

 

4. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปทุมวัน

วันและเวลาทำการ : จันทร์-อาทิตย์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ และเสาร์-อาทิตย์ที่เป็นวันหยุดยาว) เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.)

ที่อยู่ : ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (MBK CENTER) ชั้น 5 โซน A ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

Google Map: https://goo.gl/maps/CTQbP7rf1Fx64AFf8

โทรศัพท์ : 02 126 7612

 

5. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางใหญ่

วันและเวลาทำการ : จันทร์-อาทิตย์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ และเสาร์-อาทิตย์ที่เป็นวันหยุดยาว) เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.)

ที่อยู่ : ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เวสต์เกต ชั้น G ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ นนทบุรี

Google Map: https://goo.gl/maps/7Cj8HSVAbXs7uBXy8

โทรศัพท์ : 02 194 2643

 

6. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงใหม่

วันและเวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) เวลา 08.30-16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00 น.)

ที่อยู่ : ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา (อาคาร SMEs2) เลขที่ 456 หมู่ 1 ถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Google Map: https://goo.gl/maps/nabgejfYSYveX8ou6

โทรศัพท์ : 053 891 535-6

 

7. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ขอนแก่น

วันและเวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) เวลา 08.30-16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00 น.)

ที่อยู่ : ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Google Map: https://goo.gl/maps/pwjjq8dK1FUGwYVt5

โทรศัพท์ : 043 242 655 และ 043 242 707

 

8. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต

วันและเวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.)

ที่อยู่ : ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เฟสติวัล ชั้น B ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

Google Map: https://goo.gl/maps/wZ1U6hwZ5UqT4Br48

โทรศัพท์ : 076 222 080, 076 222 081, 076 222 083

 

9. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า

วันและเวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. ปิดเสาร์และอาทิตย์

ที่อยู่ : อาคาร SC Plaza สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต่ใหม่) ถนนบรมราชชนนี

Google Map: https://maps.app.goo.gl/JKL18NfYjB3bMJdR9

โทรศัพท์ : 02 422 3431, 093 010 5246

 

เตรียมเช็กอายุพาสปอร์ตของตัวเอง หากใกล้หมดอายุแล้ว อย่าลืมไปต่ออายุพาสปอร์ตกัน นอกจากนี้ มาเพิ่มความปลอดภัยให้ทุกการเดินทางด้วยประกันการเดินทางต่างประเทศ ที่สามารถเลือกซื้อแบบออนไลน์ได้ที่ gettgo ไม่ว่าจะไปประเทศไหน เมืองไหน ก็หาประกันเดินทางต่างประเทศให้อุ่นใจได้ง่าย ๆ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-111-7800 หรือ LINE OA : @gettgo

 

ข้อมูลอ้างอิง 

  1. ขั้นตอนทำพาสปอร์ตเล่มใหม่ 2567 ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 จาก https://www.sanook.com/travel/1429681/
  2. ไขข้อสงสัย PASSPORT แต่ละสีต่างกันอย่างไร ?สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 จาก https://www.cimbthai.com/th/personal/blog/lifestyle-tips/passport.html 

บทความที่คุณอาจสนใจ

เช็กให้แน่! เหตุการณ์แบบไหนบ้างที่ประกันเดินทาง ‘ไม่รับเคลม’
วิธีเปรียบเทียบประกันบน Gettgo  เปรียบเทียบง่ายและคุ้มค่า
สายเที่ยวต้องรู้  ! ลงทะเบียน K-ETA ก่อนเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊