วัย (เตรียม) เกษียณจุดเปลี่ยนของช่วงวัย หลากหลายปัญหาสุขภาพที่ตบเท้าเข้ามาในรวดเดียวและพ่วงมาด้วยค่าใช้จ่ายรอบด้าน บางคนมีเงินบำเหน็จบำนาญไว้ใช้จ่ายแต่อาจไม่มากมายเท่าเมื่อก่อน
บางคนอายุเพิ่มขึ้นแต่ศักยภาพในการทำงานลดลง นำไปสู่รายได้ลดลงที่ตามมา ทำให้หลักประกันชีวิตอย่าง “เงินเก็บ” ที่มีก็ค่อย ๆ ถูกทยอยนำมาใช้รักษาตัวโดยปริยาย ว่าแต่..ช่วงบั้นปลายชีวิตแบบนี้ มีวิธีไหนช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้บ้างนะ ?
⚫ “ทำประกันสุขภาพตอนแข็งแรง เงื่อนไขไหนก็ไม่กลัว”
เมื่อเริ่มกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพ การมองหาประกันสุขภาพสักแผนก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีค่ะ แต่เมื่ออายุมากขึ้น บางทีก็อดกังวลไม่ได้ว่าประกันจะไม่รับทำใช่มั้ยคะ? สำหรับใครที่อายุเยอะแล้วแต่ยังแข็งแรงอยู่ ทางที่ดีควรรีบทำตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่ารีรอหรือชะล่าใจไปค่ะ เนื่องจากแผนประกันยังไม่คุ้มครองในทันที ต้องมีระยะรอคอยอีก 30 วัน
เริ่มจากการตรวจสุขภาพ หากแข็งแรงก็ผ่านฉลุย ประกันไหน ๆ ก็รับทำ แต่หากใครที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น มีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้ว สามารถลองปรึกษาตัวแทนขายประกันสุขภาพก่อนเพื่อร่วมกันหาทางออกได้นะคะ จะได้สบายใจกันทั้งสองฝ่ายนั่นเองค่ะ
⚫ “ชีวิตช่วงบั้นปลาย ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคือเพื่อนแท้”
อย่างที่รู้กันดีว่า “ประกันสุขภาพเหมาจ่าย” ทั้งจ่ายหนักและคุ้มครองสูง ค่ารักษาพยาบาลส่วนมากก็จ่ายตามจริง เคลมได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเลยล่ะค่ะ ซึ่งจะแตกต่างกับประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษา ที่มักจะมีวงเงินจำกัด อย่างค่าห้องก็ได้ประมาณ 1,000-2,000 บาท บางทีไม่พอก็ต้องรบกวนเงินในกระเป๋าตัวเองเข้าไปอีก
ปัจจุบันค่าเบี้ยประกันสุขภาพเหมาจ่ายก็เอื้อมถึงได้มากขึ้น เนื่องจากมีประกันหลากหลายบริษัทให้เลือก และหากจ่ายรายปีไม่ไหว ก็มีช้อยส์ให้จ่ายแบบรายเดือนกันได้ตามสะดวก
gettgo เชื่อว่าการเดินทางมาถึงบั้นปลายชีวิตทั้งที เหนื่อยมาก็หลายสิบปี ไม่ว่าใครก็อยากได้รับการรักษาดีที่สุดยามเจ็บป่วยกันทั้งนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเพื่อนแท้ยามทุกข์ยากคนสุดท้ายก็คือ ”ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย” นั่นเองค่ะ
⚫ “เหมาจ่าย จ่ายสูง ครอบคลุมทุกรายการ”
นอกจากวงเงินคุ้มครองที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ยังมีอีกหนึ่งความพิเศษที่ประกันสุขภาพทั่วไปไม่มี ให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมผู้ป่วยนอก (OPD) ในด้านต่าง ๆ อย่างเช่น การรักษาโรคทางจิตเวช ค่าล้างไต ค่าเคมีบำบัด ค่าทำฟัน ค่ากายภาพบำบัด เป็นต้น
ยกตัวอย่างโรคยอดฮิตของผู้สูงอายุ เช่น โรคไต ราคาเฉลี่ยการล้างไตต่อครั้งก็ประมาณ 2,000-3,000 บาท อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ค่าใช้จ่ายต่อเดือนก็หลักหมื่นเลยล่ะค่ะ
สมมติคุณพ่อคุณแม่ที่บ้านในวัย 50 ปีขึ้นไปที่ย่างเข้าวัยเกษียณ ทำแผนประกันสุขภาพเหมาจ่ายไว้ ก็สามารถเคลมค่าล้างไตได้เต็มจำนวน ต่อให้เดือนละเป็นหมื่นก็จ่ายตามจริงไม่ต้องควักกระเป๋าเพิ่มเลยล่ะค่ะ
วันนี้ gettgo รวบรวมแผนประกันสุขภาพเหมาจ่ายเอาใจวัย (เตรียม) เกษียณ ที่เจ็บป่วยทีไรก็มักต้องลงเอยด้วยการนอน รพ. ทุกที ด้วยงบ 50,000 บาทต่อปี แผนไหนจ่ายค่าห้องสูง ให้ IPD หลักล้าน ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ (เปรียบเทียบจากเพศหญิง อายุ 50 ปี)
➖ เมืองไทยประกันภัย - Health Trust (แผน 3)
💰 เบี้ยประกันต่อปี 37,600 บาท
🔓 ค่าห้องต่อวัน 14,000 บาท
⚫ IPD ต่อปี 1,000,000 บาท
➖ อลิอันซ์ อยุธยา - ปลดล็อค เอ็กซ์ตร้า - แผน 1
💰 เบี้ยประกันต่อปี 37,673 บาท
🔓 ค่าห้องต่อวัน 3,000 บาท
⚫ IPD ต่อปี 2,000,000 บาท
➖ แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต - เหมาจ่ายค่ารักษา 6 ลบ. (OPD+IPD+ทำฟัน)
💰 เบี้ยประกันต่อปี 43,058 บาท
🔓 ค่าห้องต่อวัน 5,500 บาท
⚫ IPD ต่อปี 6,000,000 บาท
➖ เอ็ทน่าประกันสุขภาพ - Platinum (แผน 1)
💰 เบี้ยประกันต่อปี 43,836 บาท
🔓 ค่าห้องต่อวัน 8,000 บาท
⚫ IPD ต่อปี 1,000,000 บาท
➖ เมืองไทยประกันชีวิต - Elite Health - แผน 1
💰 เบี้ยประกันต่อปี 45,036 บาท
🔓 ค่าห้องต่อวัน 10,000 บาท
⚫ IPD ต่อปี 20,000,000 บาท
➖ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ - เหมาจ่ายค่ารักษา (1 ล้าน IPD+OPD)
💰 เบี้ยประกันต่อปี 45,529 บาท
🔓 ค่าห้องต่อวัน 8,000 บาท
⚫ IPD ต่อปี 1,000,000 บาท
➖ กรุงไทยแอกซ่า - iHealthy - gold
💰 เบี้ยประกันต่อปี 46,461 บาท
🔓 ค่าห้องต่อวัน 9,000 บาท
⚫ IPD ต่อปี 10,000,000 บาท
อย่าลืมดูแลตัวเองไปพร้อมกับวางแผนเลือกประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายนะคะ รู้ตัวเร็วย่อมได้เปรียบกว่า แม้จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไปแล้วก็ยังสามารถเลือกหลักประกันที่มั่นคงให้ชีวิตได้อยู่นะคะ