ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

อยากนอน รพ. ดี ๆ แต่ประกันบริษัทที่มีไม่เคยพอ

 

ผู้ป่วยใน

‘เหงื่อแตกแน่ เมื่อต้องแชร์เงินตัวเองจ่ายส่วนต่าง’

ดวงรายวันกับ gettgo วันนี้ ขอทำนายว่าทุกราศีที่ยังชะล่าใจ มีเกณฑ์ต้องจ่ายส่วนต่างค่ะ!

เชื่อว่าหลายคนที่มองหาประกันสุขภาพให้กับตัวเอง ส่วนใหญ่ก็เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกันทั้งนั้นใช่มั้ยคะ? แต่บางครั้งก็ยังมีเงื่อนไขยิบย่อยให้ปวดหัวไปหมด เดี๋ยวยกเว้นอันนั้นบ้างล่ะ ไม่ครอบคลุมอันนี้บ้างล่ะ ฯลฯ ดูดวงหมอไหนที่ว่าแม่น ก็ต้องพลาดให้กับความไม่แน่นอนของการเจ็บป่วยอยู่ดีค่ะ จากที่อยากลดความเสี่ยง กลับต้องเผชิญความเสี่ยงกับเงินในกระเป๋า แอบตัวสั่นอยู่บ่อย ๆ ว่าค่ารักษาครั้งนึง ต้องควักกระเป๋าเพิ่มอีกเท่าไหร่ล่ะเนี่ย! 

 

ค่าส่วนต่าง


ทุ่มหมดหน้าตักให้ประกันสุขภาพแล้ว ทำไมยังต้องจ่ายเพิ่มอีกล่ะ?

เหตุผลยอดฮิตที่ต้องจ่ายเพิ่มก็คือ การชะล่าใจต่อการเจ็บป่วยนี่เองค่ะ คิดว่าคงไม่เป็นอะไรมาก มีแค่ประกันบริษัทหรือสิทธิ์รักษาที่ตัวเองมีอยู่ก็น่าจะพอ และหากไม่รู้จักบริหารความเสี่ยงของตัวเองแล้วล่ะก็ พอเกิดปัญหาคงแก้ไขไม่ทันการ ต้องจำนนต่อค่ารักษาที่ต้องจ่ายเพิ่ม โรคภัยไม่เลือกคน ถ้าไม่อยากจนต้องหาวิธีป้องกันไว้นะคะ 

ประกันสุขภาพที่เรามีอยู่อย่างประกันกลุ่มนั้น ค่าคุ้มครองก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของบริษัท ถูกครอบด้วยงบที่จำกัด หลาย ๆ ครั้งงบ OPD หรือผู้ป่วยนอก (เจ็บป่วย ไม่นอนรพ.) ที่บริษัทให้โอเค แต่งบ IPD หรือผู้ป่วยใน (ต้องนอน รพ.) กลับน้อยนิดจนน้ำตาแทบไหล พูดง่าย ๆ ก็คือหากมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมจากวงเงินคุ้มครองของเราแล้ว ก็เตรียมตัวควักกระเป๋าเพิ่มเติมได้เลย  เห็นค่าใช้จ่ายแล้วกุมขมับ อยากหายเองเลยทีเดียวค่ะ

"อย่าล้อเล่นกับความไม่แน่นอน"

เจ็บใจกับส่วนต่างแล้ว ก็อย่าลืมหาทางจัดการกับต้นเหตุนี้ด้วยนะคะ อย่ารอให้เป็นโรคก่อนแล้วค่อยไปทำประกัน หากจะเลือกแพ็คเกจประกันทั้งที ต้องดูค่า IPD และค่าห้องให้ดี ๆ นะคะ เพราะราคาต่อคืนสมัยนี้แพงหูฉี่ แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือการบริการที่ดีกว่าจริง ๆ นะคะ ไม่ต้องรอคิวนาน บรรยากาศห้องพักก็เหมือนโรงแรม มันทำให้การป่วยไม่ใช่เรื่องที่ต้องทนทุกข์ทรมานจริง ๆ ค่ะ

ยกตัวอย่าง รพ.สมิติเวช อัพเดทค่าห้องปี 63 นี้ ห้องธรรมดาก็สตาร์ทที่ 7,400 แล้ว ส่วนห้อง VIP ราคา 10,400 บาท ซึ่งรพ. เอกชนดี ๆ ในกรุงเทพ ก็เรตราคาไม่ต่างจากนี้กันทั้งนั้น ดังนั้น หากเรามีแค่ประกันบริษัททั่วไปที่คุ้มครองแค่พันสองพันแต่อยากได้การบริการที่ดีกว่า เห็นตัวเลขคร่าว ๆ แล้วยังไงก็ไม่พอค่ะ

 

เจ็บป่วย


วันนี้ gettgo ขอรวบรวม 5 แผน สำหรับ ‘ประกันสุขภาพเพิ่มเติม’ มาเทียบให้ดูกันค่ะ กับโจทย์ เพศชาย อายุ 30 ปี กับเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มเติมต่อปี 7,000 - 10,000 บาท เจ้าไหนคุ้มครองอะไรยังไงบ้าง? จะได้หมดปัญหาต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่มสักที มาดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ 


ประกันสุขภาพเพิ่มเติม

#1 เมืองไทยประกันภัย - Health Easy (Classic OPD)

✔ จ่ายเบี้ย 7,080 บาท ต่อปี
✔ ค่าห้อง วันละ 2,000 บาท
✔ ผู้ป่วยใน (IPD) 100,000 บาท
✔ มีจ่ายส่วนแรก 20,000 บาท 

#2 เมืองไทยประกันชีวิต - D Health (1M D50K)

✔ จ่ายเบี้ย 7,089 บาท ต่อปี
✔ ค่าห้อง สูงสุดวันละ 15,800 บาท
✔ ผู้ป่วยใน (IPD) 1,000,000 บาท
✔ มีจ่ายส่วนแรก 50,000 บาท

#3 เมืองไทยประกันชีวิต - D Health (5M D50K)

✔ จ่ายเบี้ย 8,436 บาท ต่อปี
✔ ค่าห้อง สูงสุดวันละ 15,800 บาท
✔ ผู้ป่วยใน (IPD) 5,000,000 บาท
✔ มีจ่ายส่วนแรก 50,000 บาท

#4 เมืองไทยประกันชีวิต - D Health (1M D30K)

✔ จ่ายเบี้ย 8,847 บาท ต่อปี
✔ ค่าห้อง สูงสุดวันละ 15,800 บาท
✔ ผู้ป่วยใน (IPD) 1,000,000 บาท
✔ มีจ่ายส่วนแรก 30,000 บาท

#5 เมืองไทยประกันชีวิต - D Health (5M D30K)

✔ จ่ายเบี้ย 9,909 บาท ต่อปี
✔ ค่าห้อง สูงสุดวันละ 15,800 บาท
✔ ผู้ป่วยใน (IPD) 5,000,000 บาท
✔ มีจ่ายส่วนแรก 30,000 บาท

*สำหรับค่าเสียหายส่วนแรกนั้น ในกรณีที่เรามีประกันเดิมอยู่ก่อนแล้ว หากค่าใช้จ่ายเกินวงเงินที่มี ประกันเพิ่มเติมเจ้าใหม่จะจ่ายส่วนต่างให้ค่ะ แต่ถ้าเราไม่มีประกันอยู่ก่อนแล้ว ก็ต้องควักกระเป๋าส่วนแรกก่อนนั้นเอง

เห็นแล้วใช่มั้ยคะว่า.. เหนือไปกว่าการมีประกันอยู่แล้วก็ยังวางใจไม่ได้เสมอไป การซื้อประกันเพิ่มเติมจะช่วยคุ้มครองเราได้ครบวงจรมากขึ้นนั่นเองค่ะ gettgo ไม่อยากให้ทุกคนต้องน้ำตาไหลตอนเห็นบิลค่าใช้จ่าย คนเรามีชีวิตเดียว อย่าใช้อย่างเดียวจนลืมรักษานะคะ
 

บทความที่คุณอาจสนใจ

วางแผนมีลูก เล็งแผนประกันมี “ค่าคลอดบุตร” เจ้าไหนเปย์หนัก
บอกไม่หมดจนโป๊ะแตก ประกันสืบประวัติย้อนหลังได้
อัพเดทค่าใช้จ่ายรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊