ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

FREELANCE "ห้ามป่วย ห้ามพัก" เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ วันนี้

ประกันฟรีแลนซ์

 

        “ห้ามป่วย ห้ามพัก” น่าจะเป็นคำนิยามสั้น ๆ ของเหล่าฟรีแลนซ์ ที่แม้จะขยันทำงานหามรุ่งหามค่ำแค่ไหน ก็คงไม่มีใครโกงสัญญาณเตือนภัยของร่างกายได้อยู่ดี

        หากล้มป่วยขึ้นมาก็อาจไม่กล้าก้าวขาเข้า รพ. เพราะไม่มีสวัสดิการด้านสุขภาพคอยดูแลนั่นเองค่ะ วันนี้มาดูกันว่าประกันสุขภาพแบบไหนที่พร้อมเข้าใจหัวอกฟรีแลนซ์กันบ้าง ? จนบางแผนอาจถึงขั้นเรียกได้ว่า ประกันสุขภาพสำหรับฟรีแลนซ์เลยก็ว่าได้

 

“ทำงานอิสระ แต่สุขภาพต้องมั่นคง”

        ทำงานอิสระก็ใช่ว่าจะแฮปปี้เสมอไปนะคะ ชีวิตเบื้องหลังกลายเป็นว่าทำงานหนักตลอดเวลาแบบไม่รู้ตัว งานแก้งานเร่งเข้าไม่หยุด ตี 1 ตี 2 ก็ยังนั่งตอบไลน์ลูกค้าอยู่ เนื่องจากเวลาทำงานไม่แน่นอนก็อาจทำให้หลงลืมเวลาพักผ่อนไปได้ จากที่ป่วยนิดหน่อยก็ค่อย ๆ สะสมไปวันละนิด มารู้ตัวอีกทีอาจลุกลามจนเป็นโรคร้ายแบบไม่คาดคิดเลยล่ะค่ะ

        หากรักในงานอิสระแล้วก็ต้องเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ด้านเผื่อไว้ยามฉุกเฉินด้วยนะคะ ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือค่าใช้จ่ายในยามเจ็บป่วยแต่ละครั้ง ที่สูบเงินในกระเป๋าจนเบาได้เลยค่ะ

        หากชาวฟรีแลนซ์คนไหนอยากเลือกสวัสดิการด้านสุขภาพให้ตัวเอง วันนี้ #getttrick มี 2 แบบประกันมาให้ตัดสินใจเลือกกัน ว่าแต่มีประกันอะไรบ้าง แต่ละอันจะน่าสนใจยังไง ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ฟรีแลนซ์

 

✔ 1. ประกันสังคม

        ประกันพื้นฐานที่ใคร ๆ ก็มีได้ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัทหรือแม้แต่ชาวฟรีแลนซ์ค่ะ โดย “ประกันสังคมมาตรา 40” ถูกออกแบบให้เป็นหลักประกันความเสี่ยงสำหรับฟรีแลนซ์โดยเฉพาะ มี 3 ทางเลือก ดังนี้ค่ะ

➖ ทางเลือกที่ 1 - “เลือกจ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน”

        ผู้ประกันตนจะได้เงินชดเชยรายได้ 300 บาทต่อวันในกรณีทีประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย พร้อมคุ้มครองในกรณีทุพพลภาพและเสียชีวิต

➖ ทางเลือกที่ 2 - “เลือกจ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน”

        คุ้มครองในกรณีประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และชราภาพเท่านั้น ผู้ประกันตนจะได้เงินชดเชยรายได้ 300 บาทต่อวัน เมื่อเจ็บป่วยและเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 30 วัน และเงินค่าเกษียณอายุไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท

➖ ทางเลือกที่ 3 - “เลือกจ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน”

        คุ้มครองในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และชราภาพ ผู้ประกันตนจะได้เงินชดเชยรายได้ 300 บาทต่อวันเมื่อเจ็บป่วย และเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล สูงสุด 90 วันต่อปี และได้รับเงินค่าทำศพสูงสุด 40,000 บาท

📝 สำหรับประกันสังคมมาตรา 40 ต้องขอเน้นย้ำก่อนว่าต้องใช้ควบคู่กับสิทธิ์บัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ และประกันสุขภาพเท่านั้นค่ะ หลัก ๆ จะได้เป็นเงินชดเชยรายได้หากเจ็บป่วยและส่วนอื่น ๆ ข้างต้น สิทธิ์ในการเบิกจ่ายค่ารักษาขึ้นอยู่กับสวัสดิการอื่น ๆ ที่มีเพิ่มเติมนั่นเองค่ะ

 

ประกันสุขภาพฟรีแลนซ์

 

✔ 2. ประกันสุขภาพ

        อีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับชาวฟรีแลนซ์ ที่อยากยกระดับคุณภาพชีวิตขึ้นมาอีกหน่อย โดยความคุ้มครองทั้งสูงและครอบคลุมกว่าประกันสังคมมาตรา 40 โดยสิ้นเชิงเลยล่ะค่ะ มีข้อดียังไงบ้างมาดูกันเลยค่ะ

➖ ตัวช่วยที่ดีในการออมเงิน

        ทำงานได้เงินมา จากเดิมที่ฝากธนาคารอย่างเดียว ลองเปลี่ยนเป็นแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับจ่ายค่าเบี้ยประกันก็ดีไม่น้อยเลยค่ะ ส่วนค่าเบี้ยจะจ่ายมากจ่ายน้อยก็ขึ้นอยู่ที่แผนประกันที่เราพอใจนั่นเอง ถือเป็นการสร้างวินัยในการออมเงินไปในตัวด้วยนะคะ

➖ ลดหย่อนภาษีได้

        เพื่อน ๆ รู้มั้ยคะว่าเบี้ยประกันสุขภาพสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 15,000 บาทเลยล่ะค่ะ หากมองในแง่ดี การได้ลดหย่อนภาษีก็เหมือนได้ลดค่าเบี้ยไปในตัวนะคะ

➖ ทุกการเจ็บป่วย มีประกันสุขภาพช่วยจ่าย

        มาถึงจุดเด่นของการทำประกันสุขภาพ ก็คือการโอนความเสี่ยงด้านการรักษาไปที่บริษัทประกันนั่นเองค่ะ อยากได้คุ้มครองมากก็เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย หรือเลือกประกันสุขภาพแบบทั่วไปก็จ่ายเบาลงนั่นเองค่ะ

 

freelance

 

📝 ยกตัวอย่าง สำหรับผู้ที่มีฐานรายได้ 15,000 บาทขึ้นไป gettgo แนะนำเบื้องต้นว่า..

  • เลือกซื้อแผนประกันที่มีความคุ้มครอง OPD (ผู้ป่วยนอก หาหมอ รับยา กลับบ้าน) ในวงเงิน 1,500 บาทขึ้นไป หากเจ็บป่วยธรรมดา ปวดหัว ปวดท้อง ก็ครอบคลุมในแต่ละครั้ง ไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายเพิ่มค่ะ

  • เลือกซื้อแผนประกันที่มีความคุ้มครอง IPD (ผู้ป่วยใน แอดมิท ต้องนอน รพ.) 40,000 บาทขึ้นไป จะดีที่สุดค่ะ เพราะการนอน รพ. แต่ละครั้งนั้นค่าใช้จ่ายหลักหมื่นแน่นอน เช่น ปวดท้อง อาหารเป็นพิษ รพ.เอกชนค่ารักษาก็อยู่ที่ราว ๆ 15,000-20,000 บาทเข้าไปแล้ว ไหนจะค่ายา ค่าหมออีก ดังนั้นเลือกให้ครอบคลุมไว้ก่อนดีกว่านะคะ

📝 สำหรับฟรีแลนซ์คนไหนที่อยากเซฟค่าเบี้ยประกันต่อปี อยากได้ความคุ้มครองที่คุ้มค่าและจ่ายเบี้ยน้อย สามารถรวมกลุ่มกับเพื่อนให้ได้ 15 คน แล้วทำประกันสุขภาพแบบกลุ่มก็ได้นะคะ

        หารค่าเบี้ยกับเพื่อน ๆ ฟรีแลนซ์คนอื่น ๆ ก็จะประหยัดเงินได้อีก และได้ความคุ้มครองเทียบเท่าพนักงานประจำเลยล่ะค่ะ แม้จะเป็นฟรีแลนซ์ก็เลือกประกันสุขภาพที่เหมาะกับตัวเองได้ เดือนไหนงานน้อย เงินลดลง ก็ยังมีความมั่นคงด้านสุขภาพอยู่นะคะ

บทความที่คุณอาจสนใจ

“ฝันร้ายของเด็กเล็ก” ไวรัส RSV ค่ารักษาสูง ประกันที่ครอบคลุมคือคำตอบ
อยู่ประเทศไหนก็เคลมได้ เช็คแผนประกันสุขภาพ “คุ้มครองทั่วโลก”
เหมาจ่ายเบี้ยไม่เกิน 4 หมื่น เจ้าไหนให้ "ค่ายากลับบ้าน" เยอะที่สุด ?
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น