ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

ทำประกันต้องรู้จัก "ทุนประกันภัย" เคลมได้เท่าไร รู้หมด

ทุนประกันภัยคืออะไร แตกต่างกับเบี้ยประกันอย่างไร

ผู้หญิงเอเชียกำลังคำนวณทุนประกันภัย

       ทุกวันนี้เราซื้อประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ เราเคยสังเกตทุนประกันกันบ้างหรือเปล่า? แล้วรู้หรือไม่ว่าทุนประกันภัยคืออะไร เป็นคำเดียวกันกับเบี้ยประกันหรือไม่ และมีความสำคัญอย่างไร อยากรู้ต้องอ่านบทความนี้เลย

ทุนประกันภัยคืออะไร

       อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่า “ทุนประกันภัย” กับ “เบี้ยประกันภัย” เป็นคนละคำ และคนละความหมาย เป็นตัวเลขที่มีความสำคัญต่อการทำประกันภัยทั้งคู่ แต่มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

       ทุนประกันภัยหรือจำนวนเงินเอาประกันภัย คือ วงเงินความคุ้มครองที่เราได้รับจากบริษัทประกัน ซึ่งจำนวนเงินเท่าไรขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการรับประกันที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่เราจะต้องพิจารณาก่อนการซื้อประกันว่ามีวงเงินที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับความต้องการของเราหรือไม่

       เบี้ยประกันภัย
คือ วงเงินที่เราจะต้องจ่ายให้แก่บริษัทประกัน เพื่อได้รับความคุ้มครองตามรายละเอียดของกรมธรรม์ สามารถเลือกจ่ายได้ทั้งรายเดือน รายสามเดือน หรือรายปี ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่ระบุเอาไว้ในสัญญา 
       
       อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุนประกันภัยและเบี้ยประกันภัยจะไม่เหมือนกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์กัน เพราะเบี้ยประกันที่สูง ก็จะส่งผลให้วงเงินเอาประกันภัยสูงตามไปด้วย 

       ตัวอย่างเช่น หากว่านาย A ทำประกันชีวิตจ่ายเบี้ยประกัน 5,000 บาท โดยสัญญาระบุทุนประกันชีวิตไว้ที่ 1 ล้านบาท หากว่านาย A เสียชีวิต บริษัทประกันจะต้องจ่ายให้ผู้ได้รับผลประโยชน์ 1 ล้านบาท

เราควรเลือกทุนประกันเท่าไร

       คนส่วนใหญ่จะดูราคาของเบี้ยประกันที่เราสามารถจ่ายไหวในแต่ละเดือน เพื่อดูว่าเบี้ยประกันนั้นถูกหรือแพง แต่ลืมดูทุนประกันภัย แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราควรจะพิจารณาทุนประกัน เพื่อดูว่าประกันดังกล่าวมีความคุ้มค่า และมีวงเงินความคุ้มครองที่เหมาะสมกับเราหรือไม่ 

       เพราะเรามีความเสี่ยงและความพร้อมไม่เหมือนกัน ทุนประกันเราจึงไม่ต้องเท่ากัน  สำหรับการเลือกทุนประกัน จะใช้ 2 วิธีคำนวณดังต่อไปนี้

1. วิธีทวีคูณรายได้ (The Multiple of Earning Method)

       วิธีที่ง่ายที่สุดในการคำนวณทุนประกันที่เหมาะสมกับเราคือ วิธีทวีคูณรายได้ โดยนำรายได้ทั้งปีของเรามาคูณ 3-5 เท่า ตามความเหมาะสม เพื่อที่เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับเรา คนข้างหลังจะได้มีเงินสำรองสำหรับใช้จ่ายแบบไม่ลำบากไปอีก 3-5 ปีนั่นเอง

 

       วิธีคำนวณทุนประกันภัยด้วยวิธีทวีคูณรายได้


ทุนประกันชีวิต = รายได้ต่อปี x ตัวเลขทวีคูณ


        ตัวอย่างเช่น หากว่ารายได้ของนาย A ทั้งปีคือ 1 ล้านบาท จำนวนทุนประกันควรจะอยู่ที่ 3-5 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันของเรา 

 

2. วิธีวิเคราะห์ความจำเป็นทางการเงิน (The Financial Need Analysis Method)

       วิธีนี้จะซับซ้อนขึ้นมาอีกนิดหน่อย โดยจะต้องลิสต์ค่าใช้จ่ายจำเป็นเมื่อต้องเสี่ยงภัย และหักรายได้ เงินออม เงินลงทุน และผลประโยชน์ต่าง ๆ
 
       อันดับแรก ให้เราลิสต์และประมาณค่าใช้จ่ายและภาระทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่ารักษาพยาบาล เงินค่าเทอมลูก หนี้สินที่ต้องจ่ายรายเดือน จากนั้นให้ลิสต์รายได้ เงินออม และรายได้ทั้งหมด จากนั้นนำรายจ่ายทั้งหมดมาหักรายได้และผลประโยชน์ทั้งหมด จนได้เป็นทุนประกันที่เหมาะสมสำหรับเรา

 

       วิธีคำนวณทุนประกันภัยด้วยวิธีวิเคราะห์ความจำเป็นทางการเงิน 

 

ทุนประกันชีวิต = ค่าใช้จ่ายและภาระทั้งหมด - รายได้และผลประโยชน์ทั้งหมด

 

       ตัวอย่างเช่น หากว่าเราประเมินแล้วมีค่าใช้จ่ายค่าหนี้บ้าน 3 ล้านบาท ค่าเทอมลูกจนจบประมาณ 1 ล้านบาท หนี้สินอื่น ๆ ประมาณ 1 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรายเดือนประมาณ 1 ล้านบาท ทรัพย์สินส่วนตัวประมาณ 2 ล้านบาท ทุนประกันที่เหมาะสมจะเท่ากับ (3,000,000+1,000,000+1,000,000)-2,000,000 = 3,000,000 บาท

 

การเลือกทุนประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับเรา

       การเลือกทุนประกันสุขภาพ อาจจะมีความแตกต่างกับประกันชีวิตตรงที่ เราจะต้องตรวจสอบความเสี่ยงของเรา ได้แก่ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ จากนั้นตรวจสอบว่าเรามีสวัสดิการอะไรอยู่บ้าง เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ โดยเราอาจจะลองประมาณค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อครั้ง แล้วเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสม จากนั้นดูทุนประกันที่มีวงเงินที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายมากที่สุด

       อย่างไรก็ตาม ทุนประกันจะแปรผันกับเบี้ยประกัน หากว่าเราเลือกทำทุนประกันที่วงเงินสูง เบี้ยประกันก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งอาจจะเกินความสามารถในการจ่ายของเรา เราจึงควรเลือกเบี้ยประกันที่พอดี ไม่มากเกินไป ซึ่งควรอยู่ที่ไม่เกิน 10% ของรายได้ทั้งปี

ผู้ชายกำลังคิดคำนวณเพื่อขอเวนคืนทุนประกันภัย

ถ้าเราขอคืนทุนประกันจะต้องใช้เวลาเท่าไร ได้เงินเท่าไร

       อีกเรื่องหนึ่งที่เราควรรู้เกี่ยวกับทุนประกันภัยคือ เราสามารถขอเวนคืนประกันได้ หลังจากที่เราจ่ายเบี้ยประกันไปแล้ว หากว่าเรามีปัญหาทางการเงิน ไม่สามารถชำระเบี้ยประกันต่อได้ ซื้อประกันผิดแบบ หรือความคุ้มครองไม่ตอบโจทย์ความต้องการ หรือต้องการเปลี่ยนกรมธรรม์ใหม่ที่เคลมผลประโยชน์ได้มากกว่าเดิม เราสามารถขอเวนคืนกรมธรรม์ได้เช่นเดียวกัน โดยจำนวนเงินที่ได้รับจะเท่ากับ (มูลค่าเวนคืนเงินสด x ทุนประกัน)/1,000 

       มูลค่าเวนคืนเงินสด คือ มูลค่าเงินที่ขอคืนได้ ซึ่งจะอยู่ในตารางแห่งมูลค่ากรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งมักจะให้เมื่อจ่ายเบี้ยประกันไปแล้ว 2 ปี หรือหลังจากจบปีที่ 2 นั่นเอง 

       ตัวอย่างเช่น หากว่าทุนประกันชีวิตของเราคือ 1 ล้านบาท มูลค่าเวนคืนเงินสด คือ 11 บาท แสดงว่าเราจะได้เงินเวนคืนเท่ากับ (11 x 1,000,000)/1,000 = 11,000 บาท ซึ่งการเวนคืนจะใช้เวลาประมาณ 7-14 วันทำการ 

       นอกจากการเวนคืนประกันแล้ว เรายังสามารถขอกู้จากมูลค่าเวนคืนเงินสดได้เช่นเดียวกัน

       ซื้อประกันทุกครั้ง อย่าลืมดูทุนประกันภัย เพื่อที่จะได้รู้สิทธิความคุ้มครอง และเมื่อตรวจสอบความคุ้มค่าแล้วอย่าลืมเลือกทำประกันกับ gettgo ความคุ้มครองหลากหลาย ซื้อง่าย ทุนประกันสูง เช็กเบี้ยประกันสุขภาพออนไลน์ได้เลย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02-111-7800 หรือ LINE OA : @gettgo

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ทุนประกันเท่าไหร่จึงจะพอดี. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 จาก
    https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/knowledge/article/43-what-is-the-ideal-sum-insured  

  2. “ทุนประกัน” กับ “เบี้ยประกัน” คนละคำ..อย่าจำสับสน. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 จาก
    https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/protect-my-family/sum-insured-and-premium-is-different-words.html 

  3. เลือกซื้อประกันแบบไหน ทุนประกันเท่าไหร่ ให้เหมาะสมกับเราที่สุด. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 จาก
    https://member.set.or.th/set/financialplanning/lifeevent.do?name=lifeevent_detail_emergency-1&innerMenuId=15  

  4. การเวนคืนกรมธรรม์ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 จาก
    https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/5-pros-and-cons-of-insurance-policy-cancellation 

บทความที่คุณอาจสนใจ

ปลดล็อคประกันออมทรัพย์ เบี้ยปีละแสนแผน 10/5 เจ้าไหนเงินคืนคุ้มค่าที่สุด
ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษี เลือกอย่างไรในปี 2565
ทำความรู้จักประกันมะเร็ง “จ่ายระยะลุกลาม” VS “จ่ายทุกระยะ” เลือกอย่างไรดี ?
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊