ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

ฝากเงินครบ 1 ปี ได้ดอกเบี้ยสลึงเดียว ?

ประกันสะสมทรัพย์

ฝากเงินครบ 1 ปี ได้ดอกเบี้ยสลึงเดียว ?

          อาจจะดูเหมือนเป็นปัญหา แต่ก็เหมือนกับที่ภาษาฝรั่งเค้าว่า บางอย่างก็คือ "good problems to have" พูดง่าย ๆ คือมันเป็นปัญหาที่แม้จะพัดผ่านเข้ามาในบางช่วงของชีวิต มันก็ยังนับเป็นปัญหาที่ถือเป็นเรื่องดี มี Silver Linings เส้นบาง ๆ ซ่อนอยู่ และปัญหาที่ Dr.Gett จะมาชวนคุยวันนี้ นั่นก็คือ "ปัญหาว่า....ชั้นจะออมเงินวิธีไหนดี"  

          3-4 ปีที่ผ่านมา อัตราดอกเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปกติ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ไหลลงต่ำไปเรื่อย ๆ มาเจออิุบัติภัยโควิดซัดเข้าไปอีก ยุคนี้จึงถือเป็นยุคนิวนอร์มัล ที่อะไร ๆ ก็ดูจะลำบากไปหมดแม้กระทั่งการเลือกวิธีออมเงินก็ยังลำบาก พาให้คนยุคนี้ใจเจ็บกันไปตาม ๆ กัน ล่าสุดมีคนวีดว้ายใส่ Dr.Gett นี่ก็ถึงกับอึ้ง เพราะนางบอกว่าดอกเบี้ยเงินฝากที่ลง ๆ กันเป็นปกติในช่วงหลัง ๆ  คุณพระ ลงมาถึง 0.25% ต่อปี แปลง่าย ๆ คือ ฝากเงิน 100 บาทวันนี้ ครบ 1 ปี ได้ดอกเบี้ยเป็น "เหรียญสลึงเหรียญเดียว" ใช่คุณได้ยินไม่ผิด มันคือ 25 สตางค์

ทางเลือกออมเงิน ปัญหาของคนมีเงิน หรือ ปัญหาของคนทุกคน ?

          หลายเสียง อ่านมาถึงจุดนี้ อาจร้องโอ๊ย วึ่นวือ แค่ทุกวันนี้เอาตัวรอดรายวันก็พอแล้ว จะเอาอะไรมาออมก่อน

          ผิด... 

          Dr.Gett ขอพูดเสียงแข็งเลยว่า ผิด เพราะการออมเงินคือเรื่องของทุกคน การออมเงินคือการสร้างความมั่นคงให้อนาคต ความมั่นคงที่จะจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ มันไม่เลือกเกิดกับคนรวย หรือคนจน เหตุฉุกเฉิน เจ็บไข้ได้ป่วย เกิดความจำเป็นเมื่อคนในครอบครัวต้องใช้เงิน เหตุคับขันพวกนี้ไม่เลือกฐานะ มันเกิดขึ้นได้เสมอ และถ้าเรามีทางเลือกหรือทางออกที่ดีกว่าการไปหยิบยืม กู้หนี้ยืมสิน ไม่ว่าจะในระบบที่ดอกก็ขึ้นกันเรื่อย ๆ หรือนอกระบบ ที่นอกจากดอกจะแพงแตะร้อยละ 20-30 คิดดอกเป็นรายวันแล้ว ยังแถมความเสี่ยงเอาชีวิตไปไว้บนเส้นด้ายให้กับพวกมาเฟียท้องถิ่น เห็นทีเชื่อพี่เถอะ การใช้เงินเราเองยังไงก็ดีที่สุด 

 

ประกันสะสมทรัพย์
 

          แล้วมีทางเลือกอะไรเหลือ Dr.Gett แนะนำบ้าง จะร้องแล้วนะ ขอแบบ "ไม่เสี่ยงเลยยยยย" เล่นหุ้น เล่นกองทุนไม่เป็น เอาที่เงินต้นไม่หาย ส่งสั้น ส่งนานไม่ติด

          มา ๆ Dr.Gett มี 2 ทางเลือก

A. เงินฝากประจำ

          เงินออมระยะสั้น มีมากฝากมาก มีน้อยฝากน้อย เหมาะกับการเริ่มต้นเก็บเงินค่ะ

เหมาะกับใครบ้าง ?

          • first jobber รายได้ยังน้อย แต่ใจรักอยากเริ่มเก็บเงิน
          • คนที่อยากเริ่มสร้างความมั่นคง วางแผนเกษียณแต่เนิ่น ๆ
          • คนที่อยากมีวินัยการออมเพิ่มขึ้นไปอีก ฝากเอาไว้เป็นเงินทุนสำรองฉุกเฉิน
          • เพราะฉะนั้น ยังต้องการสภาพคล่องอยู่ เกิดเหตุเมื่อไหร่ ปิดเอามาใช้ได้ทันที

B. ประกันออมทรัพย์

          ออมเงินระยะยาวกว่า ทำให้สร้างวินัยได้มากกว่า บังคับตัวเองไม่ไปมองมัน ครบปีส่งค่าเบี้ย ครบปีส่งค่าเบี้ย ออมครบ ส่งครบ ได้เงินก้อนโตมาเก็บไว้ให้อุ่นใจ แต่ที่เพิ่มขึ้นมาอีกคือ ไม่ใช่แค่การออมเงิน แต่เป็นการ "ออมชีวิต" เพราะคุณจะได้ความคุ้มครองชีวิตเพิ่มไปด้วย เกิดเรื่องร้าย เสียไปขณะส่งไม่ครบ ก็ได้เงินก้อนตามทุนประกันตามที่สัญญากันในหน้ากรมธรรม์

เหมาะกับใครบ้าง?

          • ต้องการลดหย่อนภาษี
          • ต้องการผลตอบแทนสูงขึ้นกว่าเงินฝาก
          • ต้องการคุ้มครองชีวิตร่วมด้วย เกิดเหตุอะไรก็อุ่นใจ มีเงินไว้ให้คนข้างหลัง
          • คนที่มีเงินสำรองฉุกเฉินอยู่แล้ว เงินส่วนนี้อยากออมยาว ๆ ต้องเป็นเงินเย็น
          • ไม่มีแผนใช้เงินก้อนนี้ในระยะสั้น

 

ประกันสะสมทรัพย์

          ถึงจุดนี้ อ่ะ เรามีของดีมาฝาก เพราะ #ปีหน้าเราจะรวย รวยไปด้วยกัน เพียงเลือกประกันออมทรัพย์ที่ใช่ ประกันออมทรัพย์ Gen Life Plus 10 จากเจนเนอราลี่ 

          • ส่ง 10 ปี คุ้มครองยาว ๆ 20 ปี
          • เงินคืน 3%* ทุกปีกรมธรรม์* 
          • ลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาท**
          • จ่ายรายปีค่าเบี้ยถูกกว่า 8%


จะเอาไปลดหย่อนภาษีด้วย ต้องเข้าข่ายประกันชีวิตใช่ป่ะ ละดูยังไงว่าแผนนี้เข้าข่ายมั้ย ?

ประกันชีวิตที่เข้าข่ายลดหย่อนภาษีได้จะต้อง

     1. ต้องคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปเท่านั้น >> ผ่าน
     2. ถ้ามีเงินคืนรายปี เงินคืนต้องไม่เกิน 20% ของค่าเบี้ยที่จ่ายรายปี >> ผ่าน
     3. ถ้ามีเงินคืนเป็นช่วงเวลา เช่น เงินคืนทุก 3 ปี เงินคืนทุก 5 ปี เงินคืนต้องไม่เกิน 20% ของค่าเบี้ยที่จ่ายสะสมในช่วงเวลานั้น ๆ >> ผ่าน


ฮั่นแน่ เห็นป่ะว่า 3 ผ่าน เพราะฉะนั้นใครที่จะออมเงิน

คุณเองก็รวยได้ แค่ “ปรับ” วิธีออม ออมก่อนรวยกว่า 

ประกันสะสมทรัพย์

*ของจำนวนเงินเอาประกัน
**เบี้ยประกันชีวิตตามสัญญาหลักสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุด 100,000 บาทต่อปี ตามกฎเกณฑ์ของกรมสรรพากร

เงื่อนไขความคุ้มครองและเงินก้อนหรือผลประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับตามสัญญา เป็นไปตามแผนความคุ้มครองและข้อกำหนดของกรมธรรม์ที่สมัคร และการพิจารณาของบริษัท
 
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
รับประกันโดย บมจ. เจนเนอราลี่ ประกันชีวิตฯ

 

ประกันสะสมทรัพย์

บทความที่คุณอาจสนใจ

ทางรอด 2020 ฝากเงินทิ้งไว้ 10 ปี เงินต้นไม่หาย เงินงอก 30+%*
ออมเงิน หรือ ทำประกันสุขภาพ เลือกแบบไหนคุ้มกว่ากัน?
อัพเดตการยื่นภาษี 2563 แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มเติมอย่างไร ?
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น