ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

ปีใหม่ทั้งทีมาเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคอ้วนลงพุงกันเถอะ

ปีใหม่ทั้งทีมาเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคอ้วนลงพุงกันเถอะ

ปีใหม่แล้ว หลายคนมักตั้งปณิธานกันถึงสิ่งที่อยากทำให้สำเร็จ เราเชื่อว่าหนึ่งในนั้นจะต้องมีข้อที่บอกว่า ‘อยากลดน้ำหนัก’ อย่างแน่นอน เพราะเทรนด์รักสุขภาพกำลังมาแรง ทั้งยังดีต่อร่างกายและบุคลิกของเราเองอีกด้วย ปีใหม่แล้ว ก็อยากจะรักตัวเองมากขึ้น ไม่อยากจะมามีหุ่นอ้วนลงพุง เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนอีกแล้ว

รู้หรือไม่ว่าปีที่ผ่านมา สถิติโรคอ้วนของประชากรชาวไทยวัยทำงานนั้น นับว่าสูงมากถึง 48.28% และสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนเลยทีเดียว แน่นอนว่าสาเหตุนั้นก็มาจากหลายอย่าง ทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด มลภาวะ หรือแม้แต่กรรมพันธุ์ ซ้ำร้ายการเป็นโรคอ้วนยังนำมาสู่โรคเรื้อรังร้ายแรงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหัวใจ รวมถึงโรคมะเร็ง โรคร้ายเหล่านี้คร่าชีวิตชาวไทยนับไม่ถ้วนในแต่ละปี สถิติที่เราเห็นอาจจะดูน่าตกใจ แต่ก็มีมาเพื่อเตือนสติให้เราต้องเริ่มดูแลตัวเองกัน

น้ำหนักตัวแบบไหนที่เข้าใกล้โรคอ้วน

โรคอ้วน หากกล่าวง่าย ๆ ก็คือโรคที่เรามีรูปร่างไม่สมส่วน มองด้วยตาเปล่าก็อาจจะรู้ได้เลยว่าคนคนนี้เป็นโรคอ้วนแน่ ๆ แต่หากจะกล่าวในเชิงลึก โรคอ้วนหมายถึงการที่ร่างกายของเรามีน้ำหนักตัวหรือไขมันในร่างกายสูงเกินกว่ามาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานในการวัดนั้น เขาจะเรียกว่า “ดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI)” ซึ่งจะแบ่งเป็นเกณฑ์ได้ดังนี้

- ค่า BMI < 18.5 – 22.9 kg/m² เรียกว่า “ปกติ”
- ค่า BMI 23.0 – 24.9 kg/m² เรียกว่า “น้ำหนักเกิน”
- ค่า BMI > 25 kg/m² เรียกว่า “โรคอ้วน”

การจะหาค่า BMI นั้น คำนวณได้โดยใช้สูตร น้ำหนักตัว[Kg] ÷ (ส่วนสูง[m] ยกกำลังสอง) เช่น นายเอ มีน้ำหนัก 89 กิโลกรัม มีส่วนสูง 170 เซนติเมตร เท่ากับ 1.7 เมตร เมื่อนำเลขไปแทนค่าในสูตรและคำนวณออกมา ก็จะได้ค่า BMI ประมาณ 30.8 kg/m² เมื่อเทียบตามเกณฑ์ก็จะพบว่านายเอคนนี้มีน้ำหนักเกินกว่า 25 kg/m² อยู่ในภาวะโรคอ้วนแล้ว ต้องรีบดูแลสุขภาพตัวเอง

แนะนำอ่าน : วิธีควบคุมดัชนีมวลกาย BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม


วิธีดูแลตนเองแบบง่าย ๆ ให้ห่างไกลจากโรคอ้วน

การที่เราจะรู้วิธีดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคอ้วนได้ อย่างแรกคือต้องทำความเข้าใจสาเหตุของโรคนี้เสียก่อน การที่คนเราจะเป็นโรคอ้วนได้ ย่อมมาจากพฤติกรรมการกิน หรือการรับพลังงานเข้าสู่ร่างกายที่ไม่สมดุล กับปริมาณพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญออกไป นั่นหมายความว่า หากกินเยอะ แล้วไม่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว ทำให้มีการเผาผลาญพลังงานน้อย พลังงานเหลือทิ้งนั้นก็จะถูกกักเก็บไว้ในร่างกาย และส่วนมากจะมาในรูปแบบของไขมันที่จะไปพอกพูนตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ทั้งพุง ขา แขน หรือแม้แต่เส้นเลือด เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว คงเดาได้ไม่ยากว่า การจะทำให้เราห่างไกลจากโรคอ้วนนั้น มีวิธีไหนบ้าง

1. รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม


อาหารนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพมากที่สุด  อย่างคำกล่าวที่ว่า ‘You are what you eat’ แน่นอนว่ากินอะไรเข้าไป ย่อมส่งผลต่อสุขภาพของเรา อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าโรคอ้วน คือการมีน้ำหนักเกินมาตรฐานซึ่งเกิดจากการกินอาหารในปริมาณมากเกินกว่าพลังงานที่ร่างกายใช้ออกไป เมื่อไม่ถูกเผาผลาญออกจึงเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมอยู่ในร่างกาย ดังนั้นการจะห่างไกลจากโรคอ้วนได้ เราควรกินอาหารที่ครบ 5 หมู่ งดของที่มีปริมาณไขมันสูง เช่น ของทอด ของมัน ไขมันทรานส์ต่าง ๆ และควรเลิกพฤติกรรมกินจุบจิบอาหารที่ไม่มีประโยชน์ระหว่างมื้อ รวมถึงอาหารมื้อดึกนี่ก็ไม่ควรอย่างเด็ดขาด ส่วนเรื่องปริมาณนั้น ควรกินให้เหมาะสมกับปริมาณแคลอรี่ต่อวันที่เราควรได้รับ ผู้หญิงควรรับประทานอาหารให้ได้ 1,500-2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน ผู้ชายควรรับประทานให้ได้ 2,000-2,500 กิโลแคลอรีต่อวัน

 

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งที่ควรทำควบคู่กับการคุมอาหารก็คือการออกกำลังกายเพื่อให้สิ่งที่เรากินไปได้เผาผลาญออกไป ไขมันจะได้ไม่สะสมในร่างกาย ทั้งยังเป็นการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพดีต่อไป โดยเราควรออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที นอกจากนั้น สำหรับใครที่เคยอ้วนมาก ๆ และกำลังพยายามควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายนับว่าช่วยแก้ปัญหา Yo-yo Effect ได้อย่างดีทีเดียว

 

3. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร

รู้ไหมว่านอกจากการออกกำลังกายแล้ว วิธีที่จะช่วยให้เผาผลาญพลังงานในร่างกายได้ก็คือการดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตรต่อวัน ทั้งยังเป็นการขับสารพิษออกจากร่างกายอีกด้วย

 

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอช่วยให้ฮอร์โมนที่ช่วยในการเผาผลาญไขมันและช่วยในการเจริญเติบโต หรือที่เรียกว่า Growth hormone ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังส่งผลต่ออารมณ์และความเครียด รวมถึงความอยากอาหารอีกด้วย

 

5. หลีกเลี่ยงยาลดน้ำหนัก 

แม้ว่าการกินยาลดน้ำหนักจะทำให้เราผอมได้เร็ว เป็นทางลัดที่เราแทบจะไม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หรือเพิ่มการออกกำลังเลยก็ได้ แต่หารู้ไม่ว่า ยาประเภทนี้กลับให้ผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น อาจทำให้ปวดหัวอย่างรุนแรง เวียนหัว ใจสั่น นอนไม่หลับ เป็นต้น หรือถึงแม้จะลดได้แล้ว พอผ่านไประยะหนึ่งอาจทำให้เกิดอาการ Yo-yo Effect ซึ่งเกิดจากการลดน้ำหนักไม่ถูกวิธี ทางที่ดีคือควรใจเย็น ๆ ลดน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไป


ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติสามารถทำประกันสุขภาพได้ไหม ?

หากเรามีภาวะโรคอ้วนอยู่แล้ว แต่อยากทำประกัน บางคนอาจกลัวว่าจะทำไม่ได้ คำตอบคือ ทำได้ แต่อาจจะมีเงื่อนไขบางอย่างที่จะเพิ่มเติมจากกรณีปกติ เช่น

  1. หากค่า BMI ไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยิ่งใครเข้าขั้นเป็นโรคอ้วน บริษัทประกันยิ่งมองว่าเสี่ยงเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมา จึงอาจมีข้อยกเว้นบางโรคที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น หรือบางบริษัทอาจกำหนดค่า BMI ที่จะรับทำ เช่น ค่าต้องไม่เกิน 32 หรือ 35 เป็นต้น หลายคนจึงเลือกที่จะไปลดน้ำหนักหรือลดดัชนีมวลกายลงก่อนทำประกัน
  2. บริษัทประกันอาจเพิ่มเบี้ยประกัน การมีค่า BMI เกินมาตรฐานย่อมส่งผลต่อเบี้ยประกันด้วย บางแห่งอาจเพิ่มเบี้ยประกันขึ้นไปสูงถึง 25% เลยก็มี และแน่นอนว่าการเป็นโรคอ้วน มีความเสี่ยงจะเป็นโรคต่าง ๆ ด้วย และนั่นหมายความว่าบริษัทประกันอาจต้องรับความเสี่ยงในการจ่ายค่าเคลมประกันที่สูงกว่าเคสทั่วไป เพื่อความเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย บริษัทจึงต้องขอปรับเบี้ยให้สูงขึ้นนั่นเอง
  3. การแถลงข้อมูลประวัติสุขภาพ แม้ว่าการแถลงข้อมูลสุขภาพของเราต่อบริษัทประกันอาจยุ่งยากไปเสียหน่อย เพราะต้องเตรียมเอกสารเยอะแยะ แต่ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ และควรจะต้องทำอย่างถูกต้อง ไม่สร้างข้อมูลเท็จ แม้ว่าตามมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ของคปภ. จะบอกว่าห้ามบริษัทประกันบอกเลิกสัญญาของผู้ทำประกัน เว้นแต่จะมีการแถลงสุขภาพที่เป็นเท็จ ข้อดีของการแถลงข้อมูลสุขภาพคือ เราสามารถทำประกันได้อย่างสบายใจไม่มีอะไรต้องปกปิด อยากจะเคลมก็สามารถรับความคุ้มครองได้อย่างเต็มที่ อย่างคนที่เป็นโรคอ้วน ย่อมไม่รอดพ้นสายตาไปได้อยู่แล้ว เพราะบริษัทประกันส่วนใหญ่มักดูที่ดัชนีมวลกายก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งยากมากที่จะโกหกกัน

โรคอ้วนมีตัวชี้วัดที่สามารถวัดได้ด้วยตัวเอง นั่นคือการวัดค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI หากคำนวณตามสูตรแล้วได้ค่าที่เกินกว่า 25 kg/m² เท่ากับว่าคุณกำลังอยู่ในภาวะโรคอ้วน ควรเริ่มดูแลตัวเอง หรือหาแนวทางการรักษาจากแพทย์โดยด่วน นอกจากจะเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเองแล้ว หากใครที่วางแผนจะทำประกันสุขภาพ การควบคุมอาหารหรือน้ำหนักให้ห่างไกลโรคอ้วนยังช่วยให้เราทำประกันสุขภาพได้ง่ายขึ้น ทั้งยังได้เบี้ยที่ถูกกว่าคนมีโรค จะเห็นได้ว่าแค่ลดน้ำหนัก ก็เหมือนกับยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ได้ทั้งสุขภาพ ได้ทั้งความอุ่นใจจากการคุ้มครอง เพราะฉะนั้น ไหน ๆ ก็ปีใหม่แล้ว เรามารักษาสุขภาพให้เป็นเราในเวอร์ชันที่ดีกว่าเดิมกันดีกว่า

บทความที่คุณอาจสนใจ

เบลล่าบอก "ห่วงแค่ไหน ก็พอจ่าย" แล้ว Elite Health แผน จ่ายแล้วได้อะไรบ้าง ?
อยู่ประเทศไหนก็เคลมได้ เช็คแผนประกันสุขภาพ “คุ้มครองทั่วโลก”
พนักงานบริษัทกับการมี “ประกันกลุ่ม” เพียงพอหรือไม่ ?
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊