ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

เปิดกรุทะลุประกันตอนที่ 7: ไขความต่าง ระหว่างค่า Excess กับ Deductible​

 ค่า deductible

 

        หลังจากเกิดอุบัติเหตุมา เมื่อตั้งสติได้แล้ว ถัดมาก็ต้องเคลียร์เรื่องการเคลมนั่นเองครับ และในกรณีที่เราต้องควักกระเป๋าจ่ายเองด้วยส่วนหนึ่งนั่นคือ “ค่าเสียหายส่วนแรก” ที่มีอยู่ทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน ซึ่งทำให้หลายคนยังสับสนว่าทั้งคู่แตกต่างกันยังไงบ้าง ? มาไขปัญหาไปพร้อม ๆ กันเลยครับ​

1. ค่า Excess หรือ ค่าเสียหายส่วนแรก “ภาคบังคับ” กำหนดโดย คปภ.​

          บังคับเก็บไม่ว่าเราจะทำประกันรถยนต์ประเภทไหนก็ตาม เมื่อเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี และไม่ใช่อุบัติเหตุ “รถชนรถ” เช่น ก้อนหินกระเด็นใส่ เฉี่ยวชนกิ่งไม้ เป็นต้น โดยเรียกเก็บตามจำนวนครั้งที่เคลม ตั้งแต่ 1,000-5,000 บาท (ส่วนมากจะ 1,000 บาทต่อครั้ง) คำว่า “จำนวนครั้ง” ที่ว่า หมายถึง โดยปกติแล้ว จะไม่นับที่จำนวนแผลที่เกิดขึ้น ถ้าเหตุการณ์อุบัติเหตุครั้งนั้น มีแผลเกิดขึ้นมากกว่า 1 แผลแต่พิสูจน์ได้ว่าอยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน บริษัทประกันจะรวมรอยแผลและคิดค่า Excess แค่ครั้งเดียว ไม่คิดตามจำนวนแผลที่เกิดขึ้น​

          สาเหตุที่ต้องมีค่า Excess นั้นก็เพราะว่า คปภ. อยากให้เรามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี จะได้ขับรถอย่างไม่ประมาทและระมัดระวังมากขึ้นนั่นเอง​

Tips: ​ ในกรณีอุบัติเหตุที่ไม่ใช่รถชนรถ อาทิ หินกระเด็น เฉี่ยวชนต้นไม้ ผู้เอาประกันสามารถหลีกเลี่ยงค่า Excess ในแต่ละครั้งได้ แต่ ผู้เอาประกันต้องแจ้งบริษัทประกันทันทีที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น ระบุเวลา สถานที่ เหตุการณ์ที่เกิดได้ชัดเจน ไม่ใช่เก็บไว้เคลมทีเดียวรอบคันในภายหลัง ถ้าทำตามนี้ก็อาจจะไม่ต้องเสียในส่วนนี้ครับตามที่ คปภ. ระบุในเว็บไซต์ ซึ่งหากผู้เอาประกันท่านใด โดนเก็บจากบริษัทประกันถึงแม้จะแจ้งอย่างชัดเจนทันทีที่เกิดขึ้นแล้ว สามารถนำเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาร้องเรียนได้ที่สำนักงาน คปภ.​

2. ค่า Deductible หรือ ค่าเสียหายส่วนแรก “ภาคสมัครใจ” เราเลือกเอง​

          ค่าเสียหายที่เจ้าของรถ “เลือก” ที่จะเสียให้กับบริษัทประกันภัยทุกครั้งที่เป็นการเคลมแบบมีคู่กรณี และเราเป็น “ฝ่ายผิด” หากจ่ายค่า Deductible เยอะเท่าไหร่ ก็จะเป็นส่วนลดให้เบี้ยประกันถูกลงเท่านั้น​
          ยกตัวอย่างเช่น ค่าเบี้ยประกัน 20,000 บาท มีค่า Deductible 4,000 บาท เบี้ยประกันก็จะลดเหลือ 16,000 บาท​
หากเกิดอุบัติเหตุ ราคาประเมินความเสียหายที่ต้องซ่อมทั้งหมดเป็นเงิน 10,000 บาท เราต้องร่วมจ่าย 4,000 บาท และที่เหลือ 6,000 บาท ประกันจะรับผิดชอบนั่นเอง หากผู้ทำประกันมั่นใจว่าขับรถดี ความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุน้อย ก็จะช่วยให้ประหยัดค่าเบี้ยประกันไปได้เยอะ​

          สรุปได้ว่า ทั้งค่า Excess และ ค่า Deductible เป็นค่าเสียหายส่วนแรกทั้งคู่ ต่างกันที่ค่า Excess ผู้ทำประกันต้องจ่ายเองเมื่อเคลมแบบไม่มีคู่กรณี และไม่เกี่ยวกับการทำให้ค่าเบี้ยลดลง ส่วนค่า Deductible นั้น เป็นค่าเสียหายส่วนแรกที่เราตกลงเลือกเองตอนทำประกัน และช่วยลดค่าเบี้ยประกันได้ ซึ่งผู้ทำประกันต้องจ่ายเองเวลาเคลมในกรณีที่ตนเองเป็นฝ่ายผิดนั่นเองค่ะ​

บทความที่คุณอาจสนใจ

เปิดกรุทะลุประกัน ตอนที่ 3: “อยากแจ้งเคลม แต่ไม่มีคู่กรณี ทำอย่างไร?”
เปิดกรุทะลุประกัน ตอนที่ 4: เคลมสด VS เคลมแห้ง
เปิดกรุทะลุประกัน ตอนที่ 1: “เคลม พ.ร.บ.”
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น