ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

เปรียบเทียบประกันมีค่ารับผิดส่วนแรก

ประกันสุขภาพมีค่ารับผิดส่วนแรก

 

          กลับมาอีกครั้งกับคู่ชกที่ 9 แห่งสังเวียนเปรียบเทียบประกันสุดเดือด #gettbattle

          คู่รองสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดกับประกันสุขภาพมี “ค่ารับผิดส่วนแรก” หรือ Deductible ที่เราต้องเป็นคนจ่ายเงิน”ส่วนแรก” ก่อนในการรักษาตามกรมธรรม์กำหนดนั่นเองค่ะ ซึ่งค่ารับผิดส่วนแรกนี้ก็มีให้เลือกหลายเรตตั้งแต่ 20,000-50,000 บาทกันเลย จึงเหมาะสำหรับคนที่มีสวัสดิการพื้นฐานอยู่บ้างแล้ว เช่น ประกันสังคมหรือประกันกลุ่มบริษัทที่อยากได้ความคุ้มครองเพิ่มเติมในส่วนที่เกินจากวงเงินประกันของตัวเองที่คุ้มครองอยู่

          การเลือกประกันที่มีค่ารับผิดส่วนแรกนี้ช่วยให้ผู้เอาประกันประหยัดค่าเบี้ยประกันสุขภาพไปได้ถึง 20-30% จึงเป็นอีกหนึ่งแผนประกันที่ได้รับความนิยมมาก พูดง่าย ๆ ว่ายิ่งมีค่ารับผิดส่วนแรกมากเท่าไหร่ เบี้ยก็จะยิ่งถูกลงนั่นเองค่ะ

          สำหรับมวยประกันสุขภาพด้าน “ค่ารับผิดส่วนแรก” เราก็ได้เลือกคู่ยอดนิยมตลอดกาลมาดวลกันแบบหมัดต่อหมัด พบกับ “เมืองไทยประกันภัย Health easy แผน Platinum” VS “Aetna Extra Care แผน 3” หากพร้อมแล้ว ไปเชียร์ทั้งคู่กันได้เลยค่ะ

คู่ชกที่ 9 “ประกันมีค่ารับผิดส่วนแรก”

 

เปรียบเทียบประกันสุขภาพมีค่ารับผิดส่วนแรก

 

พาร์ทที่ 1 : ความคุ้มครอง 

           • หมัดที่ 1 “ค่าเบี้ย” หมัดแรก เมืองไทยประกันภัยอยู่ที่ 6,240 บาท ซึ่งแพงกว่า Aetna เล็กน้อย ประมาณ 800 บาทค่ะ (ค่าเบี้ยเปรียบเทียบจากเพศหญิง อายุ 30 ปี)

           • หมัดที่ 2 “คุ้มครองสูงสุด /ครั้ง /โรค” หมัดนี้ทั้งเมืองไทยประกันภัยและ Aetna คุ้มครองสูงสุดที่ 500,000 บาทเท่ากันค่ะ และหมัดนี้มีเงื่อนไขการคุ้มครองที่น่าสนใจและแตกต่างกัน ดังนี้

📝 เมืองไทยประกันภัย “คุ้มครอง 100%” ของค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกินจากความรับผิดส่วนแรก (ต่อครั้งต่อโรค) ยกตัวอย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาลที่หักค่ารับผิดส่วนแรกแล้ว ยังมีส่วนต่างอีก 10,000 บาท เมืองไทยประกันภัยจะเข้ามาจ่ายให้ครบเต็มจำนวน 10,000 บาท เราไม่ต้องควักกระเป๋าเพิ่มสักบาทเลยค่ะ

📝 Aetna “คุ้มครอง 80%” ของค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกินจากความรับผิดส่วนแรก (ต่อครั้งต่อโรค) ยกตัวอย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาลที่หักค่ารับผิดส่วนแรกแล้ว ทั้งหมดเป็นเงิน 10,000 บาท Aetna จะจ่ายให้ 80% เป็นเงิน 8,000 บาท ส่วนต่างที่เหลือ 2,000 บาทนี้สามารถเลือกเบิกกับประกันเดิมที่มีอยู่ได้ แต่หากประกันเดิมที่มีอยู่เบิกครบเต็มจำนวนไปแล้วเราต้องรับผิดชอบจ่าย 2,000 บาทนี้เองค่ะ

            หมัดที่ 3 “ค่ารับผิดส่วนแรก” หมัดนี้ทั้งคู่มีค่ารับผิดส่วนแรกเท่ากันที่ 20,000 บาทค่ะ

📝 ความรับผิดส่วนแรก (ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง) ใน 20,000 บาทแรกเราต้องรับผิดชอบเอง โดยการเบิกเคลมจากสวัสดิการเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยประกันจะเริ่มคุ้มครองส่วนต่างหลังจาก 20,000 บาทแรกเป็นต้นไปค่ะ

            หมัดที่ 4 “ค่าห้อง/วัน” หมัดนี้เมืองไทยประกันภัย ให้ค่าห้องสูงถึง 4,000 บาท ในขณะที่ Aetna ให้ค่าห้อง 3,000 บาท ซึ่งให้น้อยกว่าเมืองไทยประกันภัย 1,000 บาทนั่นเองค่ะ

            หมัดที่ 5 “คุ้มครองอุบัติเหตุ” หมัดนี้เมืองไทยประกันภัยคุ้มครองอุบัติเหตุสูงสุดถึง 100,000 บาท ในขณะที่ Aetna คุ้มครองที่ 1,000 บาทค่ะ

จะเห็นได้ว่าตัวเลขในด้านคุ้มครองอุบัติเหตุค่อนข้างต่างกันอย่างเห็นได้ชัดค่ะ เนื่องจากความคุ้มครองด้านอุบัติเหตุมีทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน ได้แก่ อบ.1 และ อบ.2 ซึ่งทั้งสองแผนประกันนี้ก็คุ้มครองกันคนละแบบพอดี เรามาดูกันว่าเงื่อนไขของทั้งสองแบบนี้ต่างกันยังไงบ้าง ?

📝 เมืองไทยประกันภัย คุ้มครองเฉพาะ (อ.บ.1) ได้แก่

           1. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา หรือทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ
           2. การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง
           3. การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน
           4. การรักษาพยาบาล
           5. การถูกฆาตกรรม/ถูกทำร้ายร่างกายขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์

📝 Aetna คุ้มครอง (อ.บ.2) ได้แก่

           1. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
           2. การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง
           3. การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน
           4. การรักษาพยาบาล
           5. การสูญเสียนิ้ว การสูญเสียการรับฟังเสียง/การพูดออกเสียง และการทุพพลภาพถาวรบางส่วน

สรุปความต่างได้ว่า ทั้ง อบ.1 และ อบ.2 ต่างกันที่ความคุ้มครอง โดย อบ.1 จะให้ความคุ้มครองที่น้อยกว่า อบ.2 นั่นเองค่ะ

จบกันไปแล้วสำหรับพาร์ทแรกด้านความคุ้มครอง เรามาดูกันที่พาร์ท 2 เกณฑ์ตัดสินเพิ่มเติมที่จะช่วยให้ทุกคนตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

พาร์ทที่ 2 : เกณฑ์ประกอบการตัดสินเพิ่มเติม

          เกณฑ์ที่ 1 : ความน่าเชื่อถือของบริษัท

​เนื่องจากทั้งคู่เป็นกลุ่มธุรกิจคนละประเภท เราจึงเลือกเกณฑ์ในการตัดสินความน่าเชื่อถือของบริษัท ดังนี้

📝 เมืองไทยประกันภัย ติดอันดับ 4 Market Share ในอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย
📝 Aetna การันตีด้วย "รางวัลผู้ให้บริการประกันสุขภาพยอดเยี่ยม" และ “รางวัลบริษัทประกันสุขภาพแห่งปี"

          ​เกณฑ์ที่ 2 : ความคุ้มค่าของเงิน (ความคุ้มครองหารด้วยค่าเบี้ย)​

มาดูกันว่าเงินแต่ละบาทที่เราจ่ายไปคุ้มค่าแค่ไหน จะแลกเปลี่ยนเป็นความคุ้มครองได้กี่บาท ?

📝 เมืองไทยประกันภัย มีอัตราความคุ้มค่าอยู่ที่ 80.12 บาท ในขณะที่ Aetna มีอัตราความคุ้มค่าอยู่ที่ 92.03 บาท ทำให้ Aetna มีอัตราความคุ้มค่าของเงินมากกว่าประมาณ 12 บาทนั่นเองค่ะ

          เกณฑ์ที่ 3 : จำนวนเครือข่าย รพ. และคลินิกทั้งหมด

จำนวน รพ.และคลินิกที่เยอะ ทำให้เราวางใจได้ว่าหากเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุในที่ไกลบ้านหรือยามเดินทางไปต่างถิ่นก็เคลมได้หายห่วงค่ะ

📝 โดยจำนวน รพ.และคลินิกทั้งหมดของเมืองไทยประกันภัยอยู่ที่ 478 แห่ง และ Aetna อยู่ที่ 290 แห่ง จะเห็นได้ว่าเมืองไทยประกันภัยมีจำนวนมากกว่าถึง 188 แห่งทั่วประเทศเลยล่ะค่ะ

          ​เกณฑ์ที่ 4 : สินทรัพย์รวม สิ้นปี 2562​

อีกหนึ่งเกณฑ์ความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของบริษัท ก็คือมูลค่าสินทรัพย์รวมของบริษัทนั่นเองค่ะ

📝 โดยเมืองไทยประกันภัยมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 20,307,000,000 บาท ในขณะที่ Aetna มีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 2,990,000,000 บาท จึงสรุปได้ว่าเมืองไทยประกันภัยมีสินทรัพย์รวมมากกว่าประมาณ 17,000 ล้านบาท จึงครองใจด้านความมั่นคงและความน่าเชื่อถือไปนั่นเองค่ะ

จบกันไปแล้วสำหรับ 2 พาร์ททั้งความคุ้มครองและเกณฑ์ประกอบการตัดสินเพิ่มเติมอื่น ๆ

สำหรับคู่ชกที่ 9 “ประกันมีค่ารับผิดส่วนแรก” นับเป็นอีกหนึ่งคู่ที่กินกันไม่ลง เพราะแต่ละหมัดมีข้อดีแตกต่างกันไป ยังไงเพื่อน ๆ ลองใช้เกณฑ์ที่เราเปรียบเทียบไว้ให้เป็นตัวเลือกในการตัดสินใจเลือกแผนประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ตัวเองกันนะคะ

ฝากติดตามคู่ชกที่ 10 คู่ปิดฉาก #gettbattle ในสัปดาห์หน้ากันด้วยนะคะ

บทความที่คุณอาจสนใจ

เตรียมพร้อมก่อนเป็น “คุณแม่”  เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ ต้องดูจุดไหนบ้าง ?
ประกันโควิดแบบไม่มีระยะรอคอย ตัวเลือกของคน "เสี่ยงรายวัน" ?
ปลดล็อคประกันออมทรัพย์ เบี้ยปีละแสนแผน 10/5 เจ้าไหนเงินคืนคุ้มค่าที่สุด
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊