เดินทางมาถึงคู่ชกที่ 8 กันแล้วกับสังเวียนเปรียบเทียบประกันสุดเดือด #gettbattle
วันนี้เรามาเจาะลึกในด้าน “ชดเชยรายได้” กันบ้างค่ะ เนื่องจากเวลาเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุจนต้องแอดมิตนอน รพ.นั้น สำหรับบางคนแล้วอาจทำให้ขาดรายได้ในวันนั้น ๆ ไปเลย ประกันชดเชยรายได้จึงเข้ามาช่วยล็อครายได้คงอยู่เหมือนเดิมไม่หายไปไหน และจะช่วยแบ่งเบาภาระให้คุณเบาใจยามเจ็บป่วยนั่นเองค่ะ
โดยวันนี้เราคัดเลือกมวยถูกคู่ด้าน “ประกันชดเชยรายได้” มาดวลกัน ระหว่าง “ทิพยประกันภัย TIP ชดเชยชัวร์ พลัส แผน 3” VS “กรุงเทพประกันภัย ชดเชยชัวร์ แผน 3” หากพร้อมแล้วไปเชียร์กันแบบหมัดต่อหมัดได้เลย!
คู่ชกที่ 8 “ประกันชดเชยรายได้”
พาร์ทที่ 1 : ความคุ้มครอง
• หมัดที่ 1 “ค่าเบี้ย” หมัดนี้ต่างกันถึงครึ่งต่อครึ่ง โดยทิพยประกันภัยอยู่ที่ 977 บาท ในขณะที่ กรุงเทพประกันภัยอยู่ที่ 2,100 บาท ซึ่งถูกกว่ากันค่อนข้างเยอะถึง 1 พันกว่าบาท (เปรียบเทียบจากเพศหญิง อายุ 30 ปี)
กรุงเทพประกันภัย ขายผ่านธนาคาร Tisco
• หมัดที่ 2 “คุ้มครองชีวิต” หมัดนี้ทิพยประกันภัยได้เปรียบไปเต็ม ๆ เนื่องจากคุ้มครองชีวิตสูงถึง 90,000 บาท ในขณะที่ กรุงเทพประกันภัยไม่คุ้มครองในส่วนนี้ค่ะ
• หมัดที่ 3 “ชดเชยเจ็บป่วย/วัน” หมัดนี้ทิพยประกันภัย จ่ายเงินชดเชยยามเจ็บป่วยให้วันละ 900 บาท ในขณะที่กรุงเทพประกันภัยจ่ายให้วันละ 1,000 บาท ซึ่งจ่ายสูงกว่า 100 บาทค่ะ
📝 ทิพยประกันภัย จ่ายเงินชดเชยรายได้สูงสุด 90 วัน
*เงื่อนไข จ่ายเงินชดเชยให้เฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่, ไข้เลือดออก, ไส้ติ่งอักเสบ
📝 กรุงเทพประกันภัย จ่ายเงินชดเชยรายได้ให้สำหรับทุกโรค สูงสุด 356 วัน
• หมัดที่ 4 “ชดเชยอุบัติเหตุ/วัน” ทิพยประกันภัย จ่ายเงินชดเชยกรณีอุบัติเหตุวันละ 900 บาท ในขณะที่กรุงเทพประกันภัยจ่ายให้วันละ 1,000 บาท ซึ่งสูงกว่า 100 บาทเช่นเดียวกับหมัดที่ 3 ค่ะ
📝 ทิพยประกันภัย จ่ายเงินชดเชยรายได้สูงสุด 90 วัน
📝 กรุงเทพประกันภัย จ่ายเงินชดเชยรายได้สูงสุด 365 วัน
• หมัดที่ 5 “ชดเชย ICU/วัน” หมัดนี้ ทิพยประกันภัยเสียเปรียบไปเต็ม ๆ ค่ะ เนื่องจากไม่คุ้มครองในส่วนนี้ ในขณะที่กรุงเทพประกันภัยจ่ายชดเชย ICU สูงถึงวันละ 2,000 บาท
📝 *กรุงเทพประกันภัย จ่ายชดเชย ICU สูงสุด 10 วัน สำหรับทุกโรครวมอุบัติเหตุ
• หมัดที่ 6 “อายุคุ้มครองสูงสุด” หมัดสุดท้าย ทิพยประกันภัย อายุคุ้มครองสูงกว่าที่ 70 ปี ในขณะที่ กรุงเทพประกันภัยคุ้มครองสูงสุดที่ 60 ปี ซึ่งคุ้มครองอายุได้น้อยกว่าทิพยประกันภัย 10 ปีนั่นเองค่ะ
พาร์ทแรกเรื่องความคุ้มครองผ่านไปแล้ว อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจนะคะ เรามาดูกันที่พาร์ท 2 เกณฑ์ตัดสินเพิ่มเติม อีกหนึ่งเกณฑ์ที่จะช่วยให้ตัดสินใจเลือกแผนประกันได้ง่ายขึ้นค่ะ
พาร์ทที่ 2 : เกณฑ์ประกอบการตัดสินเพิ่มเติม
เกณฑ์ที่ 1 : ความน่าเชื่อถือของบริษัท
วัดจาก Market Share ตลาดประกันชีวิตและสุขภาพในเดือนสิงหาคม 2020 ที่ผ่านมา ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทย โดยเกณฑ์ในข้อนี้เราเชื่อว่าสินค้าที่ขายดีกินส่วนแบ่งการตลาดได้มากกว่า สร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ
📝 ทิพยประกันภัย มีส่วนแบ่งการตลาด อันดับ 2 ในขณะที่กรุงเทพประกันภัย มีส่วนแบ่งการตลาด อันดับ 3 (กลุ่มธุรกิจประกันภัย) จึงสรุปได้ว่าทิพยประกันภัยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในอันดับที่ดีกว่า ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่านั่นเองค่ะ
เกณฑ์ที่ 2 : ความคุ้มค่าของเงิน (ความคุ้มครองหารด้วยค่าเบี้ย)
มาดูกันว่าเงินแต่ละบาทที่เราจ่ายไปคุ้มค่าแค่ไหน จะแลกเปลี่ยนเป็นความคุ้มครองได้กี่บาท ?
📝 ทิพยประกันภัยมีอัตราความคุ้มค่าอยู่ที่ 92.11 บาท ในขณะที่ กรุงเทพประกันภัยมีอัตราความคุ้มค่าอยู่ที่ 173.8 หมัดนี้กรุงเทพประกันภัยคุ้มค่ากว่าประมาณ 80 บาท ซึ่งถือว่าค่อนข้างเยอะเกือบเท่าตัวเลยล่ะค่ะ
เกณฑ์ที่ 3 : จำนวนเครือข่าย รพ. และคลินิกทั้งหมด
จำนวน รพ.และคลินิกที่เยอะ ทำให้เราวางใจได้ว่าหากเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุในที่ไกลบ้าน หรือยามเดินทางไปต่างถิ่น อยู่ส่วนไหนของประเทศก็เคลมได้ไร้กังวลค่ะ
📝 โดยจำนวน รพ.และคลินิกทั้งหมดของทิพยประกันภัย อยู่ที่ 602 แห่ง และกรุงเทพประกันภัยอยู่ที่ 322 แห่ง จะเห็นได้ว่าทิพยประกันภัยมีจำนวนมากกว่า ครอบคลุมกว่าถึง 280 แห่งเลยค่ะ
เกณฑ์ที่ 4 : สินทรัพย์รวม สิ้นปี 2562
อีกหนึ่งเกณฑ์ความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของบริษัท ก็คือมูลค่าสินทรัพย์รวมของบริษัทนั่นเองค่ะ
📝 โดยทิพยประกันภัย มีสินทรัพย์รวมทั้งหมดอยู่ที่ 40,814,050,000 บาท ในขณะที่กรุงเทพประกันภัยอยู่ที่ 57,327,083,351 จึงสรุปได้ว่า สินทรัพย์รวมของกรุงเทพประกันภัยมีมากกว่าประมาณ 16,000 ล้านบาทค่ะ ทำให้ความมั่นคงและความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูงกว่านั่นเองค่ะ
จบกันไปแล้วสำหรับ 2 พาร์ททั้งความคุ้มครองและเกณฑ์ประกอบการตัดสินเพิ่มเติมอื่น ๆ
คู่ชกที่ 8 “ประกันชดเชยรายได้” สรุปได้ว่า ในพาร์ทที่ 1 ด้านความคุ้มครองนั้น ทั้งคู่สูสีกันคนละด้านและหากมองภาพรวมแล้วก็กินกันไม่ลงเลยทีเดียว ส่วนในพาร์ทที่ 2 เกณฑ์การประกอบการตัดสินเพิ่มเติมนั้นก็สูสีไม่แพ้กันอีก นับว่าเป็นคู่ที่ตัดสินใจเลือกยากนิดนึงค่ะ ถึงเวลาต้องมาชั่งใจแล้วว่าถูกใจด้านไหนของเจ้าไหนเป็นพิเศษ ก็เลือกแผนประกันชดเชยรายได้ที่เหมาะสมกับความต้องการกันได้เลยนะคะ
ใกล้รอบตัดเชือกเข้ามาทุกทีแล้ว ยังไงฝากติดตาม #gettbattle คู่ชกที่ 9 ในสัปดาห์หน้ากันด้วยนะคะ