ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

เปรียบเทียบประกันโรคร้ายแรง

ทำประกันโรคร้ายแรง

 

           มาตามนัดอีกครั้งกับ #gettbattle คู่ที่ 7 ในวันพุธที่อากาศเย็นสบายแบบนี้ค่ะ

           ต้นปีแบบนี้ระวังแค่โควิดอย่างเดียวคงไม่พอแล้วนะคะ เพราะอีกหนึ่งโรคภัยที่มักจะมาเยือนเมื่อเราแก่ลงอีกปีนอกจากโรคมะเร็งที่เราเคยเขียนไว้ในคู่ชกที่ 5 แล้ว อีกความเสี่ยงที่ไม่ควรชะล่าใจนั่นก็คือ “โรคร้ายแรง”

           ขึ้นชื่อว่า “โรคร้ายแรง” ก็ร้ายและน่ากลัวไม่เบา เพื่อน ๆ อาจเคยเห็นมาบ้างกับประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองเพียงไม่กี่โรคซึ่งถูกหยิบมาเฉพาะโรคยอดฮิตของคนไทย แต่ไหน ๆ อยากทำประกันโรคร้ายแรงสักแผนนึงแล้ว หากอยากให้คุ้มค่าก็ต้องหันมาเลือกแผนที่คุ้มครองโรคได้เยอะกว่าเป็นดีที่สุดค่ะ หากพร้อมแล้วพบกับ “FWD ประกันโรคร้าย CI 50” VS “Allianz Ayudhya โรคร้ายแรง CI 48 แผน 3” ได้เลย!

คู่ชกที่ 7 “ประกันโรคร้ายแรง”
 

เปรียบเทียบประกันโรคร้ายแรง

 พาร์ทที่ 1 : ความคุ้มครอง 

           •  หมัดที่ 1 “ค่าเบี้ย” เปิดมาที่หมัดแรกค่อนข้างต่างกันอย่างสิ้นเชิงค่ะ โดย FWD ค่าเบี้ยเพียง 1,850 บาท ซึ่งถูกกว่า Allianz นิดหน่อยเพียง 350 บาท (ราคาเบี้ยไม่รวมสัญญาหลัก)

           •  หมัดที่ 2 “ระยะเริ่มต้น จ่าย” หมัดนี้ FWD จ่ายในระยะเริ่มต้น 20% ของทุน 1 ล้านบาท ในขณะที่ Allianz จ่ายเงินก้อนทุกระยะที่ 1 ล้านบาทค่ะ

📝 FWD ระยะเริ่มต้น จ่าย 20% ของทุนประกัน 1 ล้าน หมายความว่า หากตรวจเจอ 1 ใน 5 โรคร้ายแรงตามแผนประกันระบุ จ่ายเงินก้อน 200,000 บาท ได้แก่โรค

1. โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม
2. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ
3. โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดลอกหลอดเลือดแดงคาโรติด
4. โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่รักษาโดยใช้ขดลวดผ่านสายสวนทางหลอดเลือด
5. โรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาโดยวิธีใส่สายสวนเส้นเลือดแดงบริเวณคอ

        • หมัดที่ 3 “ระยะรุนแรง จ่าย” หมัดนี้ FWD จ่ายในระยะรุนแรง 80% ของทุน 1 ล้านบาท ในขณะที่ Allianz จ่ายเงินก้อนทุกระยะที่ 1 ล้านบาทเช่นเดียวกับหมัดที่ 2 ค่ะ

📝 FWD ระยะรุนแรง จ่าย 80% ของทุนประกัน 1 ล้าน หมายความว่า หากตรวจเจอ 1 ใน 45 โรคร้ายแรงที่เหลือตามแผนประกันระบุ หรือเสียชีวิต จ่าย 800,000 บาท รวมผลประโยชน์ทั้ง 2 ระยะนี้ก็จะครบ 100% ของทุนประกันที่เรามี คือ 1 ล้านบาทนั่นเองค่ะ พูดง่าย ๆ ว่าหากรับ 20% ข้างต้นไปแล้ว ก็ยังเหลือสิทธิ์อีก 80% ใน 45 โรคที่เหลือนั่นเองค่ะ

นอกจากนี้ FWD ยังจ่ายระยะรุนแรง 100% ในกรณีที่ตรวจพบ 1 ใน 45 โรคร้ายแรงที่เหลือ หรือเสียชีวิต ตัวอย่างเช่น หากตรวจเจอเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบในระยะรุนแรงเลย FWD ก็จ่ายเงินก้อนให้ 1 ล้านบาทนั่นเองค่ะ

*สรุปเงื่อนไขเรื่องโรคได้ว่า จากทั้งหมด 50 โรค แบ่งออกเป็น 5 โรคร้ายแรงข้างต้นนั้น สามารถเป็นในระยะเริ่มต้นได้ ส่วนอีก 45 โรคร้ายแรงที่เหลือ หากเป็นแล้วก็จะเป็นที่ระยะรุนแรงเลยค่ะ

📝 Allianz ไม่แบ่งระยะในการจ่าย ไม่ว่าระยะไหน หากตรวจเจอโรคร้ายแรงตามแผนประกันระบุ จ่ายเงินก้อน 1 ล้านบาท

        • หมัดที่ 4 “จำนวนโรค” หมัดนี้ FWD คุ้มครองสูงสุดที่ 50 โรค ซึ่งมากกว่า Allianz ที่คุ้มครองเพียง 48 โรคค่ะ

📝 กลุ่มโรคที่กำหนด เป็นไปตามแต่ละแผนของบริษัทประกัน

       • หมัดที่ 5 “คุ้มครองสูงสุด” หมัดนี้ทั้งคู่คุ้มครองสูงสุดที่ 1 ล้านบาทเท่ากันค่ะ
       • หมัดที่ 6 “คุ้มครองถึงอายุ” FWD คุ้มครองได้สูงถึง 85 ปี ในขณะที่ Allianz คุ้มครองได้ถึง 65 ปี ซึ่งน้อยกว่า FWD ถึง 20 ปีเลยค่ะ

 พาร์ทที่ 2 : เกณฑ์ประกอบการตัดสินเพิ่มเติม ​

        เกณฑ์ที่ 1 : ความน่าเชื่อถือของบริษัท​

วัดจาก Market Share ตลาดประกันชีวิตและสุขภาพ เดือนสิงหาคม 2020 ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทย โดยเกณฑ์ในข้อนี้เราเชื่อว่า สินค้าที่ขายดีกินส่วนแบ่งการตลาดได้มากกว่า สร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น

📝 ด้าน FWD ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่อันดับ 7 ในขณะที่ Allianz มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่อันดับ 9 จึงสรุปได้ว่าด้านความน่าเชื่อถือของบริษัทนั้น FWD อยู่ในอันดับที่ดีกว่า รวมไปถึงมีความน่าเชื่อถือมากกว่านั่นเองค่ะ

        ​เกณฑ์ที่ 2 : ความคุ้มค่าของเงิน (ความคุ้มครองหารด้วยค่าเบี้ย)​

เงินทุกบาทสำคัญ มาดูกันว่า 1 บาทที่เสียไป แปลงเป็นความคุ้มครองได้กี่บาท ?

📝 หมัดนี้อัตราความคุ้มค่าของ FWD อยู่ที่ 540.54 บาท ในขณะที่ Allianz อยู่ที่ 454.55 บาท ทำให้ FWD มีความคุ้มค่ามากกว่าประมาณ 85 บาทนั่นเองค่ะ

        เกณฑ์ที่ 3 : จำนวนเครือข่าย รพ. และคลินิกทั้งหมด

จำนวน รพ.และคลินิกที่เยอะ อย่างน้อยก็อุ่นใจหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันในทุกที่ หมดห่วงเรื่องการเคลมไปได้เลยค่ะ

📝 โดยจำนวน รพ.และคลินิกทั้งหมดของ FWD อยู่ที่ 400 แห่ง และ Allianz อยู่ที่ 452 แห่ง สำหรับเกณฑ์ในข้อนี้ Allianz มีจำนวนมากกว่า FWD ถึง 52 แห่งทั่วประเทศค่ะ

        เกณฑ์ที่ 4 : สินทรัพย์รวม สิ้นปี 2562​

มูลค่าของสินทรัพย์รวมของบริษัทสามารถใช้เป็นอีกหนึ่งเกณฑ์ความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของบริษัทได้

📝 โดย FWD มีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 174,627,349,772 ล้านบาท ในขณะที่ Allianz มีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 217,956,000,000 ล้านบาท จึงสรุปได้ว่า Allianz มีสินทรัพย์รวมมากกว่า FWD ประมาณ 43,000 ล้านบาท

           จบกันไปแล้วสำหรับ 2 พาร์ททั้งความคุ้มครองและเกณฑ์ประกอบการตัดสินเพิ่มเติมอื่น ๆ ค่ะ

           บทสรุปของคู่ชกที่ 7 “ประกันโรคร้ายแรง” นี้ สูสีกันหลายหมัด หากใครชอบด้านความคุ้มครอง FWD ก็ตอบโจทย์ หากใครชอบด้านความมั่นคง Allianz ก็มีความน่าเชื่อถือสูงค่ะ หากใครถูกใจด้านไหนเป็นพิเศษ ก็เลือกแผนประกันที่เหมาะกับความต้องการของตัวเองกันได้เลยนะคะ

           ฝากติดตาม #gettbattle คู่ชกที่ 8 ในสัปดาห์หน้ากันด้วยนะคะ

บทความที่คุณอาจสนใจ

เตรียมพร้อมก่อนเป็น “คุณแม่”  เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ ต้องดูจุดไหนบ้าง ?
ประกันโควิดแบบไม่มีระยะรอคอย ตัวเลือกของคน "เสี่ยงรายวัน" ?
ปลดล็อคประกันออมทรัพย์ เบี้ยปีละแสนแผน 10/5 เจ้าไหนเงินคืนคุ้มค่าที่สุด
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊