ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

เปรียบเทียบประกันสุขภาพเหมาจ่าย 5 ล้าน

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย

 

         เปิดสังเวียนประกันสุขภาพ #gettbattle มาตามนัดแล้ว! คู่แรกวันนี้พบกับ D Health แผน 2 เก็ทง่าย จ่ายเต็มแม็กซ์ จากเมืองไทยประกันชีวิต ⚡VS⚡ Health Happy แผน 5 ล้าน เหมา เบิ้ล คุ้ม จาก AIA

ประเดิมคู่แรกในโจทย์ “เหมา 5 ล้าน”

 

เปรียบเทียบประกันสุขภาพเหมาจ่าย

 

พาร์ทที่ 1 : ความคุ้มครอง

           • เริ่มกันที่หมัดแรก ค่าเบี้ย D Health ถูกกว่า Health Happy ประมาณ 3,000 บาท  โดยราคาเบี้ยที่ใส่ไว้คือ เพศหญิง อายุ 30 ปี และเป็นเบี้ยสัญญาเพิ่มเติม ไม่นับเบี้ยสัญญาหลักนะคะ

 

           ค่าห้อง D Health เหมาจ่ายตามจริงในเรทห้องเดี่ยว ที่ต่างกับ Health Happy ที่จ่ายเพียง 3,000 บาท

          *มาดูเรทค่าห้อง รพ. เอกชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น รพ. พญาไท 1 ห้องเดี่ยวปกติคืนละ 4,800 บาท ซึ่งแปลว่ากรณีแอดมิทต้องนอน รพ. ขึ้นมา ค่าห้องจาก D Health จะครอบคลุมทั้งหมดไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ต่างจาก Health Happy ที่ได้ค่าห้องเพียง 3,000 บาท ยังไงก็ไม่พอ ต้องควักกระเป๋าจ่ายเพิ่มนั่นเองค่ะ

           IPD (ผู้ป่วยใน) และอุบัติเหตุ ทั้งคู่เสมอกันที่ 5 ล้าน ไม่จำกัดครั้งต่อปี

           หมัดสุดท้ายในพาร์ทแรกกับโรคร้ายแรง Health Happy จ่ายสูงกว่าที่ 10 ล้าน ส่วน D Health อยู่ที่ 5 ล้านบาท

          *โรคร้ายแรง Health Happy ชนะไปเพราะจ่ายสูงกว่า D Health ถึง 2 เท่า และ D Health คุ้มครองโรคร้ายแรงเฉพาะกรณีแอดมิทเท่านั้นค่ะ

สำหรับศึกท้าดวลในพาร์ทแรกนี้ D Health นำ Health Happy อยู่ 1 แต้มค่ะ แต่ศึกนี้ยังไม่จบ เพราะนอกจากเปรียบเทียบความคุ้มครองมาให้ดูกันแล้ว gettgo ยังมีเกณฑ์เพิ่มเติมในการวัดดวลครั้งนี้อีกด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจให้ชัวร์ยิ่งขึ้น สำหรับพาร์ทที่ 2 จะเป็นยังไงบ้างไปลุ้นพร้อมกันเลยค่ะ         

  

พาร์ทที่ 2 : เกณฑ์ประกอบการตัดสินเพิ่มเติม 

         บอกเลยว่าสังเวียนประกันสุขภาพครั้งนี้ gettgo ไม่ได้มาเล่น ๆ แต่ยังมีเกณฑ์การตัดสินที่น่าเชื่อถืออีกหลากหลายข้อมาเข้าร่วมเป็นกรรมการอีกด้วยล่ะค่ะ พร้อมแล้วมาลุ้นกันต่อได้เลย!

     เกณฑ์ที่ 1 : ความน่าเชื่อถือของบริษัท

วัดจาก Market Share ตลาดประกันชีวิตและสุขภาพ เดือนสิงหาคม 2020 ที่ผ่านมา ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทย โดยเกณฑ์ในข้อนี้เราเชื่อว่าสินค้าที่ขายดีกินส่วนแบ่งการตลาดได้มากกว่าสร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ
 
โดยส่วนแบ่งการตลาดของ เมืองไทยประกันชีวิตอยู่ที่อันดับ 3 และส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ตกเป็นของ AIA นั่นเองค่ะ

 

     เกณฑ์ที่ 2 : ความคุ้มค่าของเงิน (ความคุ้มครองหารด้วยค่าเบี้ย)

ความคุ้มครองก็ต้องควบคู่มากับความคุ้มค่าของเงินที่ต้องจ่าย ดังนั้น เราจึงใช้สูตรการคำนวณอัตราความคุ้มค่าของเบี้ยต่อ 1 บาทว่าจะเปลี่ยนเป็นความคุ้มครองได้กี่บาท
 
โดยที่ D Health มีอัตราความคุ้มค่าของเบี้ยอยู่ที่ 273.86 บาท และ Health Happy มีอัตราความคุ้มค่าของเบี้ยอยู่ที่ 236.72 บาท ซึ่งแปลว่า D Health มีความคุ้มค่ามากกว่านั่นเองค่ะ

 

     เกณฑ์ที่ 3 : จำนวนเครือข่าย รพ. ทั้งหมด

หากพูดถึงเซอร์วิสแล้ว จำนวนเครือข่าย รพ.ทั่วประเทศก็เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญในการช่วยตัดสินใจ เพราะจำนวน รพ. ที่เยอะก็หมายถึงความอุ่นใจที่ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประเทศ ก็สามารถเคลมได้หากเกิดเรื่องไม่คาดฝันค่ะ
 
โดย D Health มีจำนวน รพ. อยู่ที่ 341 รพ. และ Health Happy มี 311 รพ. ซึ่ง D Health มี รพ. เยอะกว่าถึง 30 รพ. เลยล่ะค่ะ (เฉพาะ รพ. ไม่รวมคลินิก)


     เกณฑ์ที่ 4 : ความมั่นคงทางการเงิน (Fitch Ratings 2020)

อีกหนึ่งมาตรฐานวัดความมั่นคงระดับสากลที่เราหยิบมาใช้เป็นเกณฑ์ คือการวัดความน่าเชื่อถือ โดยการใช้ Fitch Ratings 2020 ซึ่งจะคล้าย ๆ การตัดเกรดสมัยเรียนนั่นเองค่ะ โดยเรียงจาก AAA ไล่ลงมาที่ AA+ AA AA- A+ A A- BBB+ BBB จนถึง BBB- เป็นต้น

เมืองไทยประกันชีวิตได้ เรทติ้ง A- ซึ่งต่ำกว่า AIA ที่ได้เรทติ้ง AA หมายความว่า ความมั่นคงทางการเงินโดยรวมในระดับสากล อ้างอิงจาก Fitch Ratings นั้น AIA สูงกว่าอยู่นิดหน่อยค่ะ
 
ซึ่งหลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าทำไมนี่ถึงกลายเป็นหนึ่งในเกณฑ์ได้ คำตอบก็คือ การที่เราจะฝากเงินของเราทำประกันชีวิตและสุขภาพ เราก็ต้องเลือกบริษัทที่มีความมั่นคงทางการเงินสูง ถูกต้องมั้ยล่ะคะ
 
         gettgo สรุปได้ว่ามวยคู่เอกคู่นี้ สูสีกันสุด ๆ เลยล่ะค่ะ ในพาร์ทแรกเรื่องความคุ้มครอง D Health คะแนนนำ Health Happy อยู่ที่ 2-1 และในพาร์ทที่ 2 กับเกณฑ์ประกอบการตัดสินเพิ่มเติมนั้น ทั้งคู่เสมอกันที่ 2-2
 
         สำหรับคู่แรกผู้ชนะก็คือ “เมืองไทยประกันชีวิต D Health แผน 2” นั่นเองค่ะ 
 
         จบกันไปแล้วสำหรับคู่ชกที่ 1 ยังไงฝากติดตาม #gettbattle คู่ชกที่ 2 ในวันพุธหน้าด้วยนะคะ มาดูกันว่าประกันสุขภาพคู่ไหนจะมาท้าดวลกันแบบหมัดต่อหมัดอีกบ้าง

อ่านบทความประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายเพิ่มเติม คลิก

บทความที่คุณอาจสนใจ

มะเร็ง 3 ชนิด ที่ประกันมะเร็งไม่รับเคลม
เบี้ยปีละ 5,000 ประกันมะเร็งเจ้าไหน เจอ จ่าย เยอะ
‘เมื่อเพศทางเลือก กลับเลือกไม่ได้’ สิทธิ์การรักษาที่หล่นหายแม้เป็นคนในครอบครัว
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊